ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุป พรบ. คอมพิวเตอร์ ปี 2550




1. เจ้าของคอมไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … เจอคุก 6 เดือน
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปบอกให้คนอื่นรู้ … เจอคุกไม่เกินปี (ถ้าแอบไปรู้ไม่บอกใครก็ไม่ผิด)
3. แอบไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์… เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
4. ข้อมูลที่ถูกส่งหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี (ดักฟังคนคุยจีบกันใน MSN จะโดยมั้ยเนี่ย)
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ ถ้าดันมือบอนไปโมดิฟรายมันซะงั้น … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (อย่าเผลอไปแก้ไข word ที่คนอื่นเขาพิมไว้ในเครื่องของเขาล่ะ)
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ ถ้าดันปล่อย packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (ปล่อยไวรัสลองวิชาหน่อยเดียวอาจโดนคุกถึง 5 ปีเชียวหรือนี่)
7. ถ้าเขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลจากเราเล้ย เช่นไม่อยากได้อีเมลล์จากเรา แล้วก็ทำตัวเป็นนัก Forward เซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ … เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันดันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า(เช่น เข้าไปโมดิฟรายแก้ไข ทำลาย ก่อนกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอม) งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
9. ถ้าเราสร้างโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ … เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน (เป็นผู้หนับหนุน ประมาณนั้นงะ)
10. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน,ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (เวบโป๊เตรียมตัวปิด)
12. พวกชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วให้คนอื่นดู เตรียมใจไว้เลยมีโดน … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ (แต่หลักฐานการกระทำผิดมันอยู่เมืองนอก ถ้าจะเอาผมเข้าคุก อาจต้องลำบากหน่อยล่ะงานนี้ อยากรู้เหมือนกันว่า กฎหมายเมืองนอกจะป้องกัน ข้อมูลบน server ที่อยู่เมืองนอกแบบไหนอย่างไร)
14. ฝรั่งทำผิดต่อเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน (อันนี้ฟังดูเหมือนง่าย แล้วกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลล่ะว่าไง ตูจะบินไปลากคอคนต่างชาติมาศาลไทยงะ)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.softfm.in.th/Diary/view/469.html

อำนาจหน้าที่ศาลฎีกา


    
   
    ศาลฎีกาเป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา  และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ  เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น  และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓)

              ศาลฎีกามีเพียงศาลเดียวตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ ๖ ถนนราชดำเนินใน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย ๓ คน (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ  เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด

              ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น ๑๑ แผนก เพื่อประโยชน์ในด้านการวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ โดยประธานศาลฎีกาแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกามาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ ๑๐ คน  แผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ๑๐ แผนก ได้แก่

              ๑) แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

              ๒) แผนกคดีแรงงาน

              ๓) แผนกคดีภาษีอากร

              ๔) แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

              ๕) แผนกคดีล้มละลาย

              ๖)  แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

              ๗) แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ

              ๘) แผนกคดีสิ่งแวดล้อม

              ๙) แผนกคดีผู้บริโภค

              ๑๐) แผนกคดีเลือกตั้ง

              และแผนกคดีที่ศาลฎีกาแบ่งเป็นการภายใน ๑ แผนกคือ

              ๑๑) แผนกคดีปกครอง (ภายใน)

              นอกจากผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ศาลฎีกามีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นคว้าปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนช่วยตรวจและแก้ไขปรับปรุงร่างคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความถูกต้องความรวดเร็ว และความเป็นธรรมแก่ประชาชน

              นอกจากอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่าง ๆ คือ

              ๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๕๕ บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน ๕ คน ไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
              ๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๓๘ (๒) บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่สรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งต่อไป
              ๓) พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕ (๑) บัญญัติให้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้มีความรู้ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม จำนวน ๑ คน ไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
              ๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้รวม ๒ กรณี
              กรณีแรก  เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่ามีสิทธิรับเลือกตั้งหรือไม่  และศาลฎีกาต้องพิจารณาและมีคำวินิจฉัยให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน เมื่อศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเช่นใด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกาโดยเร็ว
              กรณีที่สอง  เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔/๑ วรรคหนึ่ง ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ซึ่งในกรณีที่สองนี้หากถึงวันเลือกตั้ง ถ้าปรากฏว่าไม่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามวรรคหนึ่งหรือมีการยื่นคำร้องแล้ว แต่ศาลฎีกายังไม่มีคำวินิจฉัย ให้การพิจารณาเป็นอันยุติและให้ดำเนินการเลือกตั้งไปตามประกาศการรับสมัครที่มีผลอยู่ในวันเลือกตั้ง

              สำหรับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกานั้น จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๒ วรรคสองและวรรคสาม, มาตรา ๓๐๘ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย

              องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน ๙ คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปเนื่องจากเป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒

   ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.supremecourt.or.th/webportal/supremecourt/content.php?content=component/content/view.php&id=61

คุกและการกักขัง



มุมมองทางมานุษยวิทยามีการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมการจองจำและ คุมขังโดย เอิอร์วิ่ง กอฟฟ์แมน (Erving Goffman) กอฟฟ์แมนนอธิบายว่าคุก คือที่อยู่ที่แยกคนออกจากกัน มันเป็นบ้านสำหรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อคนที่เปลี่ยนแปลง กระบวนการจองจำ หรือคุมขังด้วยอำนาจ เป็นการบุกรุกมนุษย์ในเรื่องพื้นที่ เวลาและความเป็นส่วนตัว คุกจึงสะท้อนวัฒนธรรมของการโหยหาอิสรภาพ และความเป็นปัจเจกนิยมโดยใช้การควบคุม และกฏระเบียบเป็นเครื่องมือ แต่การวิจัยในเรื่องนี้ยังคงมีคำอธิบายอื่นๆที่ยังคงรอการตีความ และยังมีคำถามอื่นที่ต้องพิจารณา เช่น เจ้าหน้าที่คุมขัง
กับผู้ถูกคุมขังหรือนักโทษ มีวัฒนธรรมอย่างไร และลักษณะของการคุมขัง กักขัง หน่วงเหนี่ยวมีความหมายอย่างไร และในแต่ละวัฒนธรรม ความหมายของการคุมขังต่างกันอย่างไร
อย่างไรก็ตามการศึกษาทางมานุษยวิทยาในเรื่องนี้ยังมีไม่มากนัก เนื่องจากธรรมชาติของการคุมขังไม่เอื้อำนวยให้มีการวิจัยเท่าใดนัก นักมานุษยวิทยาที่เก็บข้อมูลนักโทษ ต้องระมัดระวังตัวหลายอย่าง และอยู่ในสภาวะเสี่ยงในความปลอดภัย นักมานุษยวิทยาบางคนเชื่อว่าคุกคือการจองจำ เช่นการศึกษาของ Cardozo-Freeman (1984) อธิบายว่าการจองจำนักโทษก็เหมือนการกดขี่เพศหญิง การศึกษาของ Theodore R. Davidson (1983) ศึกษาคุกในชิคาโน่ และพบว่านักโทษมีชีวิตอยู่รอดได้ด้วยเครือข่ายเศรษฐกิจแบบลับๆ
การศึกษาอื่นๆยังอธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของนักโทษในคุกที่มาจากต่างเผ่าพันธุ์เชื้อชาติ แต่อาศัยอยู่ร่วมกันช่วยเหลือกันเพื่อที่จะหนีไปจากการจองจำ นักโทษบางกลุ่มมีพื้นที่ส่วนตัว เพื่อแสดงออกความเป็นตัวเอง เพื่อแยกว่าตนต่างกับคนอื่นอย่างไร การศึกษาในเรื่องบทบาทางเพศของCoggeshall (1991)

อธิบายว่าคุกที่เป็นพื้นที่ทางสังคมที่นักโทษพยายามจำลอง ความแตกต่างทางเพศระหว่างชายหญิง โดยเฉพาะคุกที่คุมขังนักโทษหญิงอย่างเดียว การศึกษาคุกของนักโทษหญิงยังทำให้มีการตรวจสอบสมมุติฐานต่างๆ เกี่ยวกับบทบาททางเพศ พฤติกรรมทางเพศ และความรุนแรงทางเพศ นอกจากนั้นนักโทษหญิงมักจะมีความสัมพันธ์กับเครือญาติของตน ขณะที่อยู่ในคุก
 ส่วนคุกของนักโทษชาย นักโทษชายจะมีการต่อสู้แข่งขันกันรุนแรง การศึกษาของ Mark Fleisher(1989) อธิบายว่าวัฒนธรรมคุก เป็นเรื่องของผู้คุมอำนาจ ผู้คุมในเรือนจำจะมีบทบาทสูงในการจัดการกับนักโทษและวางกฏระเบียบต่างๆ ผู้คุมจึงอยู่ในสภาวะที่ตึงเครียดมาก คุกจึงเป็นแบบจำลองของระบบการปกครองของสังคมที่ต้องการควบคุมมนุษย์ และระงับความรุนแรงต่างๆ แต่คุกขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญ นักโทษจะถูกควบคุมทั้งร่างกายและจิตใจในสภาพแวดล้อมของระเบียบที่เคร่งครัด ในแง่นี้ การศึกษาคุกจึงเป็นการตรวจสอบระบบศีลธรรมที่เปราะบาง นักมานุษยวิทยาที่เข้าไปศึกษาคุกต้องสัมภาษณ์นักโทษและเจ้าหน้าที่เรือนจำ แต่ข้อมูลที่ได้มาอาจไม่ตรงกับความจริง เพราะนักโทษและเจ้าหน้าที่อาจปกปิด

การศึกษาวิจัยในคุกจึงมีจำกัดหลายประการ นักมานุษยวิทยาวางตัว ลำบาก การศึกษาคุกในวัฒนธรรมต่างๆอาจทำให้เห็นความแตกต่าง ของ ความหมาย ของคุก หรือเปรียบเทียบคุกกับสถานที่บางแห่งที่มีกลุ่มคนอาศัยอยู่และ ต้องมีกฏเกณฑ์ร่วมกัน เช่น ค่ายทหาร สำนักสงฆ์ โรงพยาบาล สถานดูแลพักฟื้น เป็นต้น การวิจัยเรื่องคุกอาจทำให้เข้าใจเรื่องบทบาททางเพศ สถานะทางสังคมของชายและหญิง อาจทำให้เข้าใจระบบคุณค่า และการแสวงหาอัตลักษณ์ของบุคคล และอาจทำให้ค้นพบหนทางใหม่ๆในเชิงนโยบายสำหรับการลงโทษ และ คุมขังนักโทษ

คุกจึงเป็นพื้นที่ที่ท้าทายในการศึกษา และการทำความเข้าใจข้อจำกัดของมนุษย์ในมิติเวลา สถานที่ คุณค่าทางศีลธรรม การปฏิบัติทางสังคม และกฏระเบียบต่างๆ คุกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญทางวัฒนธรรมที่จะทำให้เข้าใจ สภาพแวดล้อม ที่มนุษย์ที่กดขี่ข่มเหง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://203.172.205.25/ftp/intranet/sac.or.th/Subdetail/old_anthronews/anthronews_jail/jail.html



การทำบัตรประจำตัวประชาชน



คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องทำบัตร
    ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทนบัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปี) ก็สามารถทำได้และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด

1. สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
1.1 ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตท้องที่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่จังหวัดสำหรับการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล หรือศาลาว่าการเมืองพัทยาแห่งใดแห่งหนึ่ง ขณะนี้เปิดบริการรวม 211 แห่ง คือ ในท้องที่ จังหวัดชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครปฐม สุราษฏร์ธานี สงขลา กรุงเทพมหานคร และ อ.เมืองปทุมธานี (โครงการนำร่อง)
1.2 ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนอกท้องที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในข้อ 1.1 ให้ยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเทศบาลแห่งท้องที่ ซึ่งผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

2. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือนับแต่วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้สัญชาติไทย หรือนับแต่วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือนับแต่วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น แล้วแต่กรณีหากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
2.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง
     2.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
     2.1.2 สูติบัตรหรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น ใบสุทธิ
สำเนาทะเบียนนักเรียน เป็นต้น
     2.1.3 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2.1.2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรองด้วย
     2.1.4 กรณีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดาและมารดามาแสดง ถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม ให้นำใบมรณบัตรไปแสดงด้วย
2.2 การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกดังกล่าวนี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด

3. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
บัตรมีอายุใช้ได้หกปี การนับอายุบัตร กฎหมายให้นับตั้งแต่วันออกบัตรไปจนครบหกปีบริบูรณ์ แต่หากวันที่บัตรมีอายุหกปีบริบูรณ์ ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร ให้นับระยะเวลาต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรในปีนั้น หรือปีถัดไป แล้วแต่กรณี เป็นวันบัตรหมดอายุ เมื่อบัตรเดิมหมดอายุต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด
** การทำบัตรก่อนบัตรเดิมหมดอายุ ** หากผู้ถือบัตรมีความประสงค์จะทำบัตรก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ สามารถทำได้ภายในหกสิบวัน ก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด
** การนับวันบัตรหมดอายุ ** ให้ถือเอาวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร เป็นวันบัตรหมดอายุ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2542 เช่น

(1) นาย ก ถือบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกก่อนวันที่ 1 เมษายน 2542 ระบุวันออกบัตรตรงกับ วันที่ 2 เมษายน 2539 บัตรหมดอายุวันที่ 1 เมษายน 2545 แต่นาย ก เกิดวันที่ 1 กรกฏาคม 2513 กรณีนี้บัตร นาย ก จะใช้ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2545 (วันครบรอบวันเกิดของนาย ก ในปีนั้น)
(2) ในทำนองเดียวกัน ถ้านาย ก เกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2513 กรณีนี้บัตร นาย ก จะใช้ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2546 (วันครบรอบวันเกิดของนาย ก ในปีถัดไป)
(3) หากผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกก่อนวันที่ 1 เมษายน 2542 ประสงค์จะขอมีบัตรใหม่ กรณีบัตรหมดอายุตามที่ระบุในบัตร พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาอนุญาตให้มีบัตรใหม่กรณีบัตรหมดอายุ และหากผู้ถือบัตรประสงค์จะถือบัตรนั้นต่อไปจนถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรตามข้อ (2) เมื่อถึงวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตรแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาอนุญาตให้มีบัตรใหม่ กรณีบัตรหมดอายุ
(4) หากผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนขอมีบัตรใหม่ กรณีบัตรหมดอายุ โดยยื่นคำขอก่อนวันบัตรหมดอายุ 60 วัน พนักงานเจ้าน้าที่จะพิจารณาอนุญาตให้มีบัตรใหม่กรณีบัตรหมดอายุ
(5) บัตรที่ระบุวันออกบัตรตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นมา วันบัตรหมดอายุจะตรงกับวันครบรอบวันเกิดของผู้ถือบัตร ซึ่งพิมพ์ระบุไว้ในบัตรแล้ว

3.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง
     3.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
     3.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ

4. กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย
เมื่อบัตรหายหรือบัตรถูกทำลายให้แจ้งบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะทำบัตร โดยไม่ต้องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และต้องยื่นคำขอมีบัตรใหม่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
4.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง
     4.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
     4.1.2 หลักฐานเอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่และเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
     4.1.3 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 4.1.2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรอง
4.2 การทำบัตรใหม่กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฏหมายกำหนด ดังนี้
1. บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 10 บาท
2. บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 20 บาท

5. กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
เมื่อบัตรชำรุดในสาระสำคัญ เช่น ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำเลอะเลือน ต้องขอเปลี่ยนบัตรโดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรชำรุดในสาระสำคัญ หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
5.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง
     5.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
     5.1.2 บัตรเดิมที่ชำรุด
     5.1.3 หากบัตรชำรุดจนไม่สามารถพิสูจน์ตัวบุคคล หรือรายการในบัตรได้ ให้นำเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ หรือสำเนาทะเบียนนักเรียน หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
     5.1.4 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 5.1.3 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรอง
5.2 การเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรเดิมชำรุด ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฏหมายกำหนด ดังนี้
     5.2.1 บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 10 บาท
     5.2.2 บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 20 บาท

6. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
เมื่อเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรโดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้านหากพ้นกำหนดจะต้องระวางโทษไม่เกินสองร้อยบาท
6.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำแสดง
     6.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
     6.1.2 บัตรเดิม
     6.1.3 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
6.2 การเปลี่ยนบัตรกรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฏหมายกำหนด ดังนี้
     6.2.1 บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 10 บาท
     6.2.2 บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 20 บาท

7. กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภิกษุ สามเณร ผู้ที่อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ จะขอมีบัตรก็ได้
7.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง
     7.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
     7.1.2 หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
7.2 บุคคลได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
     7.2.1 บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 10 บาท
     7.2.2 บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 20 บาท

8. กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้ (ตามความสมัครใจ) หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนนั้นได้ จนกว่าบัตรจะหมดอายุ
8.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง
     8.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
     8.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
8.2 การขอเปลี่ยนบัตรกรณีย้ายที่อยู่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฏหมายกำหนด ดังนี้
     8.2.1 บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 10 บาท
     8.2.2 บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 20 บาท

9. การเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตร หรือการเสียเงินค่าปรับ
พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกครั้ง

10. การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร
เอกสารหลักฐานรายการเกี่ยวกับบัตรมีอายุเก็บรักษาไม่น้อยกว่า 6 - 18 ปี ผู้ถือบัตรและผู้มีส่วนได้เสียสามารถขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการบัตรเดิมจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรจากระบบคอมพิวเตอร์ ณ สถานที่ดังนี้
     (1) ที่ทำการปกครองจังหวัด ศาลากลางจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
     (2) สำนักทะเบียนที่ออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทุกแห่ง
การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบัตร สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตั้งแต่ข้อมูลปี 2531 ถึงปัจจุบันและข้อมูลทะเบียนบัตรตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา จะมีภาพถ่ายใบหน้าของผู้ขอมีบัตรปรากฎอยู่ด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจค้นได้จากระบบคอมพิวเตอร์ สามารถขอตรวจสอบหรือคัดสำเนาหลักฐานการทำบัตรจากระบบไมโครฟิล์มคำขอมีบัตรและฟิล์มรูปถ่ายได้ที่ หน่วยบริการข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต/กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0-2629-9125 ถึง 41 ต่อ 1101 - 2 ในวันและเวลาราชการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.9anant.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=35847&Ntype=5

ปัญหาที่พบของกฏหมายประมงในปัจจุบันและแนวทางการแก้ไข

6.1 ปัญหาที่พบของกฏหมายประมงในปัจจุบัน



1) พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นตัวเงื่อนไขการบังคับใช้กฎหมายต้องรัดกุมและมีเจ้าหน้าที่ควบคุทั่วถึง เช่น ต้องห้ามจับปลาในฤดูผสมพันธุ์ และว่างไข่ ปลาที่เหลือน้อยควรจัดไว้ในพวกที่ต้องสงวนพันธุ์ การดำเนินการป้องกันโดยใช้กฏหมายจะทำได้ผลดีก็ต่อเมื่อ
....... 1.1) มีเครื่องมือ เครื่องใช้ และกำลังคนพอเพียง
....... 1.2) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ตัองปฎบัติงานด้วยความซื่อสัตว์และจริงจัง

ท้องที่ใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เฉื่อยเนือยกฎหมายก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประพฤติมิชอบ กฎหมายประมงก็ถูกเลือกใช้ไปในทางเอื้อประโยชน์กับการทำลายทะเลการที่กฎหมายศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัตินี่เองที่ทำให้มีการอ้างกันว่า กฎหมายดีแต่การปฎิบัติแย่ ซึ่งเป็นความจริงเพียงบางส่วน ทั้งนี้เพราะปรากฎการณ์ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเลือก ปฎิบัติตามกฎหมายประมงแตกต่างกันตามความชอบของบุคคล เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปและเป็นประสบการณ์ ซ้ำซาก ได้สะท้อนให้เห็นว่า กฎหมายนั่นเองที่ต้องได้รับการแก้ไข

2) ความสัมฤทธิผลของกฏหมายที่มีอยู่ทำให้เกิดปัญหาสำคัญของทะเลไทยและชาวประมงพื้นบ้านคือ การลดลงอย่างรวดเร็วของสัตว์น้ำ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง และเครื่องมือประมงพื้นบ้านถูกทำลายโดยเรือประมงซึ่งใช้เครื่องมือผิดกฎหมายเข้าไปทำการประมงในเขตหวงห้าม

3) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเลและทรัพยากรชายฝั่งมีจำนวนมาก กฎหมายแต่ละฉบับต่างให้อำนาจหน่วยงาน ราชการแต่ละหน่วยงานมีอำนาจการจัดการเหนือพื้นที่ทะเล ชายฝั่งและเกาะ ตลอดจนการควบคุมจำนวนเรือและเครื่องมือการประมง เมื่อหน่วยงานราชการที่มีอำนาจต่างทำงานโดยกฎหมายต่างฉบับแต่บังคับในพื้นที่เดียวกันจึงเกิดความขัดแย้ง และซ้ำซ้อนกัน จนประชาชนโดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ นอกจากนี้ความซ้ำซ้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมาย และประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาลดลง

4) ปัญหาการกระจายอำนาจ เนื่องจากโครงสร้างอำนาจและกระบวนการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมศูนย์อำนาจใหญ่อยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกรมประมง การดูแลรักษาทะเลซึ่งเป็นกิจการสาธารณะซึ่งประชาชนควรร่วมกันดำเนินการ จึงถูกทำให้เป็นกิจการของหลวงประชาชนไม่เกี่ยว ถ้าจะเกี่ยวต้องได้รับการอนุมัติหรือคำสั่งจากรัฐมนตรี สังคมไทยจึงไม่สามารถระดมพลังของคนในสังคมเข้าร่วมแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างเป็นจริง ประการสำคัญการรวมศูนย์อำนาจทำให้กลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่พยายามดูแลรักษาทรัพยากรชายฝั่งและทะเล นอกจากไม่ได้รับการสนับสนุนแล้ว บางกรณีถูกตั้งข้อหาว่า ทำเกินหน้าที่ของพลเมือง บางกรณีกลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย การอาสาของประชาชนเพื่อดูแลรักษาทะเลเป็นการอาสาเพื่อทำความดีให้สังคม ระบบกฎหมายที่กีดกันและให้โทษกับผู้อาสาทำความดีจึงไม่ชอบธรรม และจะนำพาประเทศไปสู่ปัญหา

6.2 แนวทางการแก้ไข

 


2.1 การสร้างความตระหนักของชุมชน อาจมีการให้การสึกษา ในทุกระดับ ทั้งในหลักสูตรในระบบการศึกษาและการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพยากรประมง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

2.2 การกระจายโครงสร้างอำนาจและการตัดสินใจให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ในการรักษา ออกกฏ ระเบียบให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะ ความจำเป็นในการนำมาใช้ประโยชน์ของทรัพยากรประมง ในท้องถิ่นของตนเอง

2.3 การแก้ไขการขัดแย้งการนำทรัพยากรประมงในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์

2.4 การบริหารจัดการทรัพยากรประมงในเชิงบูรณาการ ดังแผนภาพ



2.5 การปรับปรุง พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

มีหลายองค์กรโดยเฉพาะสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ และเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทะเล มีความเห็นร่วมกันว่า พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเขตชายฝั่ง และการดูแลรักษาทะเล ไม่สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายของการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างยั่งยืน จึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเล การประมวลประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติขององค์กรชุมชน และปัญหาอุปสรรคด้านกฎหมายเพื่อนำข้อความรู้มาสังเคราะห์เป็นร่างพระราชบัญญัติการประมง ที่เกื้อหนุนกับจัดการทะเลอย่างยั่งยืน การศึกษากฎหมายและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทะเล ดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๔๒ - มกราคม ๒๕๔๓ จากนั้นได้จัดการสัมมนาในระดับชุมชนและเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านใน ๑๓ จังหวัดภาคใต้ รวม ๑๔ ครั้ง เพื่อประมวลประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติขององค์กรชุมชน ปัญหาอุปสรรคด้านกฎหมาย และจัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายประมงจากองค์ความรู้ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งคลอบคลุมพื้นที่ ๓ ทะเลของภาคใต้ประกอบด้วยทะเลด้านอ่าวไทย ทะเลสาบสงขลา ทะเลอันดามัน ตลอดจนพื้นที่อ่าวและคลองที่เชื่อมต่อกับทะเล เช่น อ่าวปัตตานี อ่าวพังงา คลองปะเหลียน เป็นต้น ในช่วงปี ๒๕๔๓ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนทะเล และนักวิชาการได้ร่วมกันจัดสัมมนาสังเคราะห์ข้อสรุปจากงานศึกษาและการสัมมนาทั้ง ๑๔ ครั้ง และจัดทำเป็นเนื้อหาร่างพระราชบัญญัติการประมงฉบับประชาชน กล่าวได้ว่า ร่างเนื้อหาพระราชบัญญัติการประมงฉบับชาวประมงพื้นบ้าน จัดทำขึ้นจากประสบการณ์ตรงของคนทะเล ผู้ซึ่งมองปัญหาและเข้าร่วมการแก้ไขปัญหาด้วยสำนึกของการปกป้องมาตุภูมิ

- ปัญหาสำคัญของทะเลไทยและชาวประมงพื้นบ้านคือ การลดลงอย่างรวดเร็วของสัตว์น้ำ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง และเครื่องมือประมงพื้นบ้านถูกทำลายโดยเรือประมงซึ่งใช้เครื่องมือผิดกฎหมายเข้าไปทำการประมงในเขตหวงห้าม ปัญหาทั้ง ๓ มีอาการของปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่หรือจังหวัด เช่น อวนรุนที่ปัตตานีเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายสัตว์น้ำและเครื่องมือทำการประมง นครศรีธรรมราชกับสุราษฎร์ธานีมีทั้งอวนรุน อวนลาก เรือปั่นไฟจับปลากระตักและน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง สงขลานอกจากเครื่องมือการประมงเช่น อวนรุน เรือปั่นไฟปลากะตัก ชาวประมงพื้นบ้านยังเผชิญกับปัญหาการสร้างเขื่อนทะเลสาบสงขลา การพัฒนาอุตสาหกรรมและเมืองซึ่งปล่อยน้ำเสียลงทะเลสาบ

จังหวัดชายฝั่งอันดามันมีการทำลายป่าชายเลนเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง การสัมปทานทำถ่าน การทำประมงผิดกฎหมายเช่น อวนรุน อวนลาก ระเบิดปลา เมื่อคลื่นลมสงบกองเรือปั่นไฟปลากระตักเดินทางจากฝั่งอ่าวไทยเข้าร่วมกวาดจับสัตว์น้ำ และปัญหาได้รุกคืบไปสู่การประมงผิดกฎหมายในคลองและแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมานานโดยทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๑๖ เป็นต้นมา การแก้ไขปัญหาสามารถดำเนินการได้ในระดับการแก้ไขเฉพาะพื้นที่และเป็นการชั่วคราว เนื่องจากกระบวนการแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่กำหนดไว้โดย พ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ ซึ่งบัญญัติให้ฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำเป็นเจ้าของปัญหาและ เป็นผู้มีอำนาจอย่างเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุนี้จังหวัดที่บังเอิญได้พนักงานเจ้าหน้าที่ดี กฎหมายก็ถูกเลือกใช้ไปในทางที่ดี

ก่อนปี ๒๕๐๓ ไทยจับสัตว์น้ำได้ปีละ ๑๕๐ , ๐๐๐ ตัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง ๑.๕ ล้านตันในปี ๒๕๑๕ และปี ๒๕๒๐ มีการพัฒนาอวนล้อมจับปลาผิวน้ำปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มเป็น ๒ ล้านตัน และ ๒.๗๕๓ล้านตันในปี ๒๕๓๖ พร้อมกับปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้น ทะเลไทยเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ปี ๒๕๐๔ สามารถจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยได้ชั่วโมงละ ๒๙๘ กิโลกรัม ลดลงเหลือเพียงชั่วโมงละ ๒๐ กิโลกรัมในปี ๒๕๓๒ ขณะที่ดร.เชาวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาในปี ๒๕๔๑ พบว่า จำนวนการจับลดลงเหลือ ๗ กิโลกรัมต่อชั่วโมง นอกจากนี้ปลาที่จับได้เป็นปลาขนาดเล็กและลูกปลาเศรษฐกิจร้อยละ ๔๐ รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมระบุว่า ปริมาณการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนในทะเลไทยไม่ควรเกินปีละ ๑.๔ ล้านตัน แยกเป็นปลาผิวน้ำ ๔๕๐ , ๐๐๐ ตัน ปลาหน้าดิน ๙๕๐ , ๐๐๐ ตัน แต่การประมงทะเลไทยจับสัตว์น้ำสูงกว่า ๒.๕ ล้านตันต่อปี การจับสัตว์น้ำทะเลได้ปริมาณมากขึ้นทั้งๆที่ความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวไทยลดลง เกิดจากการใช้วิธีการประมงที่ทำลายทรัพยากรมากขึ้น ตลอดจนการใช้เครื่องมือประมงที่จับสัตว์น้ำได้มากชนิดกว่าที่ต้องการ ทำให้เกิดการประมงมวลชีวภาพคือมุ่งกวาดล้างสัตว์น้ำทะเลทุกชนิด อธิบดีกรมประมง นายธำรงค์ ประกอบบุญ ยอบรับว่า ปัจจุบันทะเลไทยจับปลาได้น้อยมาก เพราะว่าเราไม่ได้มีการวางแผนการจัดการประมงมาก่อน และปัญหาอวนลาก อวนรุนละเมิดกฎหมายรุกล้ำเข้ามากวาดจับสัตว์น้ำในเขต ๓ , ๐๐๐ เมตร และเขตปิดอ่าว โดยที่กรมประมงยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องห้ามทำการประมงในเขต ๓ , ๐๐๐ เมตรให้เป็นรูปธรรม

รายงานการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงปลากระตักโดยใช้แสงไฟประกอบ กล่าวถึง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและประสิทธิภาพของกฎหมายประมงไว้ว่า
..... 1) คดีความผิดตามกฎหมายประมงเป็นคดีขึ้นศาลแขวงต้องส่งฟ้องภายใน ๔๘ ชั่วโมงทำให้เรือประมงสามารถกลับไปทำการประมงได้อีกอย่างรวดเร็ว
..... 2) เป็นคดีที่ทำผิดในทะเลทำให้การจับกุมและรวบรวมพยานหลักฐานยุ่งยาก จึงจับกุมได้เพียงบางส่วนของผุ้กระทำผิดเท่านั้น
..... 3) ปัญหาเรื่องเขตอำนาจสอบสวน (เนื่องจากเขตการปกครองทางทะเลไม่ชัดเจน เมื่อเกิดการกระทำผิดจึงไม่สามารถระบุได้ว่า อยู่ในเขตของอำเภอ จังหวัดใด)
..... 4) ปัญหาข้อกฎหมาย เรื่องเครื่องมือประมงที่ไม่รวมกับเรือ
..... 5) บทกำหนดโทษเบาทำให้ชาวประมงไม่เกรงกลัวเพราะผลประโยชน์ที่ได้คุ้มค่า
..... 6 ) ไม่มีการริบเรือหรือเครื่องมือประมง เพราะชาวประมงใช้ช่องว่างทางกฎหมายโดยทำสัญญาเช่าแสดงไว้ในการขอคืนของกลางต่อศาล เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓ (๑) กำหนดให้เป็นดุลยพินิจของศาลในการรับทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ให้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดจะริบไม่ได้

พ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ เริ่มบังคับใช้ช่วงต้นของการพัฒนาการประมงทะเล (ปี ๒๔๙๐ถึง ปี ๒๕๑๕) แต่จากปี ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๒๖ ปีที่การประมงทะเลเริ่มเข้าสู่ยุคของการทำลายตัวเองด้วยการประมงที่ทำลายทรัพยากร และมุ่งกวาดล้างสัตว์น้ำโดยที่การควบคุมและการบังคับใช้ พ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ ไม่สามารถหยุดยั้งการทำลาย และในหลายกรณีกฎหมายได้เอื้ออำนวยให้การทำลายล้างทวีความรุนแรงมากขึ้น

- พ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ มีช่องว่างที่เปิดให้เจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนใช้เป็นเครื่องมือในการทุจริต ดังมติคณะรัฐมนตรี ๒๕ มกราคม ๒๕๔๓ เรื่องมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง ๒๔๙๐ ให้แก้ไขพ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ โดยเพิ่มบทลงโทษผู้ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายจนทำให้เกิดความ เสียหายแก่ทรัพยากรทางทะเลให้สูงขึ้นใกล้เคียงกับอัตราโทษตามความผิดที่เกิดจากการสร้างความ เสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และให้เพิ่มบทบัญญัติว่าด้วย การสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของเรือหรือเจ้าของเครื่องมือประมงที่ใช้กระทำผิดมีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด และให้ริบเรือประมงหรือเครื่องมือนั้นเสีย โดยไม่ต้องคำนึงว่า จะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อปิดช่องว่างของกฎหมายและป้องกันการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่

- พระราชบัญญัติการประมง ๒๔๙๐ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและการมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์และได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://lms.mju.ac.th/Fisheris_Law/lesson61.php

ทำไมสังคมเราต้องมีกฎหมาย


วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน



1. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เช่นได้มาโดยได้โฉนดแผนที่โฉนด
ตราจอง, หรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว, ได้มาซึ่งที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ที่ดินประเภทนี้เป็นที่มีกรรมสิทธิแต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ และไม่ถือว่าเป็นที่ดินมือเปล่า ฎีกาที่ 1570/2500 ที่พิพาทซึ่งเจ้าของได้ครอบครองทำที่ดินให้เป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 4 และพระราชบัญญัติ ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) 2479 แล้วแม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ ก็ต้องนำกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 มาใช้บังคับคดี โดยถืออายุความสละที่ดิน 9 ปี 10 ปี หาใช่อายุความ 1 ปี ไม่

2. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้มาโดยขอออกโฉนดที่ดินตั้งตำบล และได้มาโดยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย (ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 และ 59)

3. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยนิติกรรม เช่น โดยการซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้จำนอง, ขายฝาก ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้น เป็นโมฆะ

4. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินโดยผลของกฎหมาย เช่น

ก) ได้กรรมสิทธิในที่ดินจากที่งอกริมตลิ่ง ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกนั้นเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น โดยหลักของที่งอกริมตลิ่ง จะต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและติดต่อเป็นผืนเดียวกันแต่เจ้าของที่ดินมีจะมีกรรมสิทธิในที่งอกได้ต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินแปลงใดเป็นที่มือเปล่าเกิดที่งอกออกมา เจ้าของที่แปลงนั้นก็มีแต่สิทธิครอบครองที่งอกเท่านั้น ดังนั้นหากเป็นงอกออกมาจากที่ดินมีโฉนด เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวมีกรรมสิทธิในที่งอก ผู้อื่นจะแย่งการครอบครองที่ดินส่วนนี้ต้องครองครองปรปักษ์เกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ หากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมือเปล่า (สค.1 , นส.3)
เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองหากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้องร้องเรียกคืนภายใน 1 ปี เจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น

ข) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ” ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ (โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จบทที่ 42) ที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1, น.ส.3) จะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ก.ครอบครองที่ดินมือเปล่าอย่างเจ้าของมา 10 ปี ก.ก็คงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น

การได้กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์จะต้องให้ศาลสั่งว่าได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครองหากเจ้าของได้โดยการครอบครองบางส่วน ก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วนหรือได้รับแบ่งมาโดยการครอบครอง

ค) การได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน โดยทางมรดก การจะมีกรรมสิทธิในที่ดินมรดกที่ดินมรดกนั้นต้องเป็นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดินถ้าที่ดินมรดกเป็นที่มือเปล่าเช่นที่ นส.3, สค.1 ก็มีเพียงสิทธิครอบครอง

ผู้ได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้ จะต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเสียก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เช่น นาย ก. ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดให้นาย ข. เมื่อนาย ก. ตาย นาย ข. ก็ได้รับมรดกทันทีโดยผลของกฎหมายโดยไม่ต้องจดทะเบียน เนื่องจากพินัยกรรมมีผลเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหรือหากไม่มีพินัยกรมเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายมรดกก็ตกไปยังทายาทโดยธรรมทันที แต่ต่อมาหากนาย ข. ต้องการขายที่ดินมรดกให้นาย ค. นาย ข.จะทำไม่ได้เพราะชื่อในโฉนดยังเป็นชื่อนาย ก. เจ้าของเดิมอยู่ นาย ข. จะต้องจดทะเบียน การได้มาประเภทมรดก ลงชื่อนาย ข. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิเสียก่อนจึงจะเอาที่ดินไปจดทะเบียนขายให้นาย ค. ต่อไปได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 บัญญัติว่า “ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้” การได้มาทางมรดกก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://forum.thaidvd.net/index.php?showtopic=83325&st=720

สิทธิในการรับมรดก


๑.  ทรัพย์มรดก
           ๑.๑  ทรัพย์มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมาย
หรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๐)
           ๑.๒  หลักการแบ่งปันทรัพย์มรดก
                    (๑)  ถ้าผู้ตายมีคู่สมรสยังมีชีวิตอยู่ ให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก่อน(ป.พ.พ มาตรา ๑๖๒๔, ๑๕๓๓)
                    (๒)  เมื่อแบ่งระหว่างสามี ภรรยาแล้ว ส่วนของผู้ตาย คือ ทรัพย์มรดกที่จะต้องนำไปแบ่งปันระหว่างทายาท
(ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๒๖)

๒.  มรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม
            เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาททันที ซึ่งตามกฎหมาย
เรียกว่า ทายาทโดยธรรม อันประกอบด้วยญาติและคู่สมรส ญาติของผู้ตาย มิใช่ทุกคนที่จะมีสิทธิได้รับมรดก เพราะกฎหมาย
ได้บัญญัติให้ญาติที่สนิทสนมกับผู้ตายเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับมรดก โดยญาติที่สนิทที่สุดได้รับมรดกไปก่อน ส่วนญาติที่สนิท
รองลงมาจะมีสิทธิได้รับมรดกก็ต่อเมื่อญาติสนิทในลำดับต้นไม่มี ส่วนคู่สมรสนั้นจะมีสิทธิได้รับมรดกเสมอตามส่วนมากน้อย
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่ทั้งนี้คู่สมรสนั้นต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ ต้องได้รับจดทะเบียนสมรสนั่นเอง

๓.  ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
                    ๑.  ผู้สืบสันดาน คือ ลูกหลาน เหลน ลื้อ
                    ๒.  บิดามารดา
                    ๓.  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
                    ๔.  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมาดาเดียวกัน
                    ๕.  ปู่ ย่า ตา ยาย
                    ๖.  ลุง ป้า น้า อา
                    ๗.  คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

๔.  การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ
           ๔.๑  ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นต่างๆ หลายชั้น เช่น อาจจมีลูก พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย เช่นนี้แล้ว
ทายาทดดยธรรมในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน ส่วนทายาทโดยธรรมในลำดับรองลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
           ข้อยกเว้นที่ทำให้ทายาทโดยธรรมในลำดับหลังมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ได้แก่ กรณีผู้ตายมีผู้สืบสันดานซึ่งเป็นทายาท
โดยธรรมในลำดับที่ ๑ และมีบิดามารดาซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่  ๒ กรณีเช่นนี้ บิดามารดาตัดไปโดยกฎหมาย
บัญญัติให้บิดามารดานั้นมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเหมือนเป็นบุตรของผู้ตายคนหนึ่ง
            ตัวอย่าง นาย ก. มีเงินอยู่ก่อนตายจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท นาย ก. มีบุตร ๒ คน คือนายเขียวและนายขาว และมีบิดา
มารดาซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ๒ คน คือนายสี และนางสม นอกจากนี้ นาย ก. ยังมีปู่ ย่า ตา ยาย และมีลุง ป้า น้า อา ซึ่งยังมีชีวิตอยู่
ทุกคน กรณีเช่นนี้เมื่อ นาย ก. ตาย โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้เงินมรดกจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท จะตกทอด ได้แก่
            นายเขียว และนายขาว ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๑ และตกทอดได้แก่ นายสีและนางสม ในฐานะที่เป็น
ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๒ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นบุตรคนละเท่าๆ กัน คือ ๑๐,๐๐๐ บาท
            ส่วน ปู่ ย่า ตา ยาย และ ลุง ป้า น้า อา ของนาย ก. เป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๕ และลำดับที่ ๖ ไม่มีสิทธิได้รับมรดก
ของนาย ก. เพราะเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับหลังนายเขียว นายขาว ผู้สืบสันดาน และนายสี นางสม บิดามารดาของนาย ก.
                     ๔.๒  กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ แม้ผู้ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม
คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกเสมอ ส่วนจะได้ส่วนแบ่งเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กล่าวคือ
                              (๑)  ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๑ คือ ผู้สืบสันดาน และมีคู่สมรส กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับ
มรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นบุตรของผู้ตาย
             ตัวอย่าง  นาย ก. มีเงินอยู่ก่อนตาย จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท มีบุตร ๑ คน คือนายดำ และมีภริยา คือ นางสวย
เมื่อนาย ก. ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะตกทอดได้แก่ นายดำ และนางสวยคนละเท่าๆ กัน คือ ๑๐,๐๐๐ บาท
                               (๒)  ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดันที่ ๓ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรม
ในลำดับที่ ๒ คือ บิดามารดาและผู้ตายมีคู่สมรสซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กรณี เช่นนี้ คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
              ตัวอย่าง  เจ้ามรดกมีมรดก ๖๐๐,๐๐๐ บาท มีบิดามารดา ๒ คน มีภริยาเงินมรดกจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท จะตกทอด
ได้แก่ ภริยาจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท และตกทอดแก่บิดา มารดาคนละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
                                (๓)  ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๔ คือ พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือ มีทายาท
โดยธรรมลำดับที่ ๕ คือ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๖ ลุง ป้า น้า อา และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ กรณีเช่นนี้
คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก ๒ ใน ๓ ส่วน
               ตัวอย่าง  เจ้ามรดกมีบุตร ๑ คน  คือ  ดำ  และมีหลาน ๑ คน คือ  ขาว มีทรัพย์มาดก  ๔๐๐,๐๐๐ บาท  ดำตายหลังเจ้า
มรดก  มรดกจะตกได้แก่ดำทั้งหมด  คือ  ๔๐๐,๐๐๐  บาท  แต่ปรากฏว่าดำตายก่อนเจ้ามรดก  มรดกส่วนนี้จึงตกได้แก่  ขาว
ซึ่งเป็นหลานโดยการรับมรดกแทนที่
                      ๔.๕  ทายาทโดยธรรมในลำดับที่  ๑  คือ  ผู้สืบสันดานนั้นในกรณีที่เป็นบุตร บุตรซึ่งจะมีสิทธ์ได้รับมรดกจะต้องเป็น
บุตรในกรณีดังต่อไปนี้  คือ
                                (๑)  บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  ได้แก่  บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  ซึ่งจะเป็นบุตรที่ชอบ
ด้วยกฎหมายทั้งของบิดาและมารดา  ถ้ามิได้จดทะเบียนสมรสกัน  บุตรนั้นจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะของมารดา
เท่านั้น  (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๖) และบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายขอ
บิดาก็ต่เมื่อบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกัน  หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของตน  หรือมีคำพิพากษาว่า
บุตรนั้นเป็นบุตรของบิดา  (ป.พ.พ. มาตรา ๐๕๔๗)
                                 (๒)  บุตรบุญธรรม  ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
(ป.พ.พ. มาตรา  ๑๕๙๘/๒๗)
                                  (๓)  บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว  เช่น  ชาย หญิงได้เสียกันและคลอดบุตรต่อมาชายรับเด็กไปเลี้ยง
ดูให้การศึกษาให้ใช้นามสกุลกรอกแบบเสียภาษีเงินได้    ภงด.๙     ว่าเป็นบุตรและเบิกเงินช่วยค่าเล่าเรียนบุตร
 (ฎีกาที่ ๖๔๙/๒๕๐๐)
                                   -  นำหญิงไปคลอดที่โรงพยาบาล หมั่นไปเยี่ยมและรับกลับบ้าน  จนกระทั่งขอให้แพทย์ประจำตำบลตั้งชื่อ
เด็กที่คลอดให้  (ฎีกาที่ ๕๓๕/๒๕๐๙)
                                    -  อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา (ฎีกาที่ ๔๓๖/๒๕๑๘)
                           -  บิดามีพฤติการณ์รับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตร    โดยวิธีจัดงานเลี้ยวฉลองการตั้งกครรภ์
(ฎีกาที่ ๑๔๖๙/๒๕๒๖)  
                           ๔.๖  ในกรณีที่สามีภริยาร้างกัน  หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย  กรณีเช่นนี้  ทั้งสามีและ
ภริยายังคงมีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน  โดยกฎหมายถือว่ายังเป็นสามีภริยากันอยู่นั่นเอง  (ป.พ.พ.  มาตรา  ๑๖๒๘)
                     ๔.๗  ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม  แต่บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตร
บุญธรรม  และมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาเดิมด้วย (ป.พ.พ. มาตรา  ๑๕๙๘/๒๙)  ประกอบ  มาตรา ๑๕๙๘/๒๘)
                             ตัวอย่าง  นาย ก.  จดทะเบียนรับนาย ข.  เป็นบุตรบุญธรรมของตน  ต่อมานาย ก . ตายมรดกทั้งหมดของ
นาย ก.  ตกทอดได้แก่  นาย ข.  แต่ถ้านาย ข.  บุตรบุญธรรมตาย  นาย ก. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนาย ข.
                             ถ้ากรณีที่นาย  ข. บิดามารดาซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย  ถ้าบิดามารดาของนาย ข. ตาย กรณี
เช่นนี้  นาย ข. มีสิทธิได้รับมรดกของบิดาตนเอง  และในกรณีกลับกัน  ถ้านาย ข. ตาย  บิดามารดาดังกล่าวก็มีสิทธิได้รับมรดก
ของนาย  ข.
                               ๔.๘  บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรส  ของผู้รับบุตรบุญธรรม เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญ
ธรรมจะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมด้วย
                               ๔.๙  ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลยและผู้ตายก็มิได้ทำพินัยกรรมไว้กรณีเช่นนี้  มรดกจะตก
ทอดได้แก่แผ่นดิต  (ป.พ.พ.  มาตรา ๑๗๕๓)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ที่มา  http://www.geocities.com/phrae_attorney/name_ph2.html
ภาพจาก  http://forum.thaidvd.net/index.php?showtopic=83325&st=720

กฎหมายครอบครัว การหมั้น


                1. การหมั้น  การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว
                ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ กล่าวคือ เมื่อหมั้นกันแล้วฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับไม่ได้ แต่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้
                กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อมีการหมั้นกันก่อน ฉะนั้นชายหญิงอาจทำการสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นก็ได้
                ของหมั้น  เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
                สินสอด  เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤิตการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
                2. เงื่อนไขแก่งการสมรส  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ เช่น ชายหรือหญิงหรือทั้งสองคนอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ แต่มีความจำเป็นต้องทำการสมรสเพราะต้องเดินทางไปต่างประเทศในฐานะครอบครัวที่เป็นสามีภรรยากัน ศาลอาจเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 17ด ปีบริบูรณ์




                ข้อห้ามมิให้ทำการสมรส
1.       ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2.       ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา กรณีเช่นนี้ลูกพี่ลูกน้องแม้จะใช้ชื่อสกุลเดี่ยวกันก็อาจจะทำการสมรสกันได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามไว้
3.       ชายหรือหญิงขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว
4.       ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้  การสมรสจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การจดทะเบียนสมรส ตามปกติแล้วจะจด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่เขนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิเลาอยู่
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา    สามีภรรยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู
กันตามความสามารถและฐานะของตน
                ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา  ถ้าสามีภริยาได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินไว้เป็นพิเศษอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็น “สินส่วนตัว” ย่อมเป็น “สินสมรส”
                สินส่วนตัว  ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1)    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2)    ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3)    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4)    ที่เป็นของหมั้น
สินส่วนตัวของฝ่ายใดถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นซื้อทรัพย์สินอื่นมาหรือขายได้เป็นเงินมา ทรัพย์สินอื่น
หรือเงินนั้นเป็นส่วนตัวของฝ่ายนั้น สินส่วนตัวของฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
                สินสมรส  ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1)    ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2)    ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบถว่าเป็นสินสมรส
(3)    ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส






ตารางแสดงทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
สินส่วนตัว
สินสมรส

1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส

2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา

2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดย พินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
สินส่วนตัว
สินสมรส
3. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น (เป็นของภริยา)

3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

4. ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานอกจากที่ได้แยกไว้เป็น “สินส่วนตัว” ย่อมเป็นสินสมรส

                4. การสิ้นสุดแห่งการสมรส  การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือให้หย่า
                ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หมายความว่า การสมรสตกเป็นโมฆียะ เช่น คู่สมรสอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือสำคัญผิดในตัวคู่สมรสถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะและเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสนั้นก็สิ้นสุดลง
                การหย่า  การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นตัวหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน และจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว
                เหตุฟ้องหย่าเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่ามีหลายกรณี แต่จะยกมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ๆ ดังนี้
(1)    สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีภรรยา หรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2)    สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(3)    สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(4)    สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือ ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่เป็นอยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5)    สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6)    สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(7)    สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2011
ภาพจาก http://www.theweddinghome.com/Wedding_ShareDetail.asp?Code=A53-0039

กฎหมายครอบครัว(มรดก)

     ถ้าพูดถึงเรื่องกฎหมายครอบครัวมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะคนเราเกิดมาก็ต้องมีครอบครัวหรือมีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวกันหมดทุกคน เช่น คนเราเกิดมาก็ต้องมีพ่อแม่ , มีการสมรส , มีการหมั้น , มีการรับรองบุตร , มีการทำพินัยกรรม ,มีการจัดการมรดก , การปกครองบุตร , ทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยา ฯลฯ
                ดังนั้นเราจึงควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวไว้บ้าง ถ้าเกิดมีปัญหาจะได้แก้ไขได้ถูก ยกตัวอย่างเรื่องของ มรดก  มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ (มาตรา 1599* เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น  และมาตรา 1600* ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ) 
มีคนถามว่า มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด                  มรดกจะตกถึงทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  กองมรดกของเจ้าของมรดกจะตกทอดกับทายาทโดย สิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม 
            กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย
        บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งสภาพบุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่ 
1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมจะต้องมีการลำดับและชั้นต่าง ๆ  
        ส่วนประเภทที่ 2 ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะพินัยกรรมกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือบุคคลภายนอกก็ได้        
(ตาม มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตาม กฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม")
เมื่อเจ้ามรดกตายลงไป บรรดาลูกๆ สามีหรือภริยาของเจ้ามรดก และอาจรวมถึงเครือญาติของเจ้ามรดกต่างคาดคิดว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกกันดี  แต่ควรที่จะประชุมทายาทโดยธรรมกันก่อน ว่าจะให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก และคนที่มีสติหรือมีจิตฟั่นเฟือน วิกลจริต ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทั้งนี้ผู้จัดการมรดกจะทำอะไรโดยพลการไม่ได้ และจะเอาแต่ใจตนเองก็ไม่ได้ และการร้องขอต่อศาลเพื่อจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดก จะไม่ต้องถูกคัดค้านจากบรรดาทายาท
อีกทั้งหน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีหน้าที่อย่างไรบ้างตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยบัญญัติไว้มีดังนี้
1.การจัดทำบัญชีทรัพย์ ตาม มาตรา 1714
2.การจัดการงานศพของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1649
3.การสืบหาตัวผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ตาม มาตรา 1725
4.การเรียกเก็บหนี้สินของกองมรดก ตาม มาตรา 1736 วรรคท้าย
5.การส่งเงินและทรัพย์สินเข้ากองมรดก ตาม มาตรา 1720
6.การแถลงความเป็นไปในการจัดการมรดกแก่ทายาท ตาม มาตรา 1720 + 809 + 1732
7.ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ทายาทสั่งหรือศาลสั่ง ตาม มาตรา 1730 + 1597
8.การแจ้งหนี้สินระหว่างผู้จัดการมรดกกับกองมรดก ตาม มาตรา 1730 + 1596
9.ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดก ตาม มาตรา 1732
                ดังนั้นการรู้กฎหมายหรือศึกษากฎหมายจะทำให้เราไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ อีกทั้งสามารถจัดการทรัพย์สินต่างๆ ของเจ้ามรดกได้ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/markandtony/2010/09/24/entry-2
ภาพจาก  http://fannyzaza.blogspot.com/p/2-3.html

กฎหมายกับรถแต่ง

     
     เอามาบอกจะได้รู้กัน เกี่ยวกับ กฏหมายกับการแต่งรถ สรุปขึ้นมาว่า อุปกรณ์ตกแต่งรถอะไรบ้างที่ติดตั้งแล้วไม่มีผิดกฎหมาย

1. ท่อไอเสียรถยนต์ไม่ว่าขนาดใหญ่ หรือเล็ก จะเป็นรูปทรงอะไรก็ตามไม่ผิดกฎหมาย แต่จะต้องมีความดังของเสียงท่อไอเสีย ไม่เกิน 90 เดซิเบล (ในกรณีโดนตรวจจับ ทางตำรวจจะต้องใช้เครื่องมือตรวจเท่านั้นฟังด้วยเสียงไม่ได้)

2. สปอยเล่อร์ หรือชุดแต่งไฟเบอร์ สามารถตกแต่งได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่วัสดุที่นำมาติดตั้งต้องแข็งแรง

3. รถโหลดเตี้ย สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน

4. รถยกสูง สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่สูงเกิน 175 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน

5. เกจ์ และมาตรวัดต่าง ๆ ที่ติดตั้งภายในรถ สามารถติดตั้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด

6. ไฟโคมเหลือง หรือสปอร์ตไลท์สามารถติดตั้ง และเปิดได้แต่ไฟต้องไม่แยงตาผู้อื่น ไม่งั้นอาจโดนตักเตือนได้ เช่นเดียวกับไฟ xenon (ไฟหน้ารถสีขาวสว่าง) แต่ถ้าเป็นไฟสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาวหรือเหลืองผิดกฎหมายทันที

7. ไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ต้องเป็นไฟสีเหลืองส้มเท่านั้น

8. ไฟถอยหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น

9. การตกแต่งป้ายทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นทะเบียนยาว (ตัดป้ายหรือไม่ตัดป้าย) ผิด พ.ร.บ. ส่วนป้ายทะเบียนแบบปรับองศาสามารถติดตั้งได้แต่เมื่อมองจากด้านหน้าแล้วต้อง เห็นป้ายทะเบียนชัดเจน

10. ล้ออัลลอยย์ (ล้อ max) จะใส่ขอบขนาดเท่าไหร่ก็ได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ขนาดของล้อจะต้องไม่ล้นออกมานอกตัวถัง แต่ถ้าไปดึงโป่งให้ล้อยื่นออกมาเกินกว่าตัวถังถือว่าผิดเต็ม ๆ เพราะนั่นแหละคือการดัดแปลงสภาพรถยนต์

11. สติกเกอร์แต่งรถไม่ว่าจะชิ้นใหญ่ หรือเล็กสามารถติดได้ไม่ว่าจะมากมายขนาดไหนก็ตามไม่ผิดกฎหมาย

12. กระโปรงหน้ารถสามารถทำเป็นสีดำ หรือลายคราฟล่าได้ แต่ต้องไปแจ้งการเปลี่ยนสีรถที่กรมขนส่ง ไม่งั้นถือว่าผิดกฎหมาย

13. การเปลี่ยนสีรถเฉพาะจุด หรือทั้งหมดต้องแจ้งที่กรมขนส่ง

14. การวางเครื่อง 1J หรือ 2J เมื่อวางเครื่อง + จ่ายเงินแล้ว ต้องแจ้งกรมขนส่ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.suratracing.comและhttp://www.alai2u.com/forums/index.php?topic=5.0
ภาพจาก http://play.kapook.com/photo/show-97689

กฎหมายควบคุมอาคาร

  แนวร่นจากถนน และระยะห่างเขตที่ดินของอาคารประเภทต่างๆ 
   
     ปัจจุบันการควบคุมอาคารในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจะมีกฎหมายบังคับที่สอดคล้องกันกล่าวคือ มีข้อบัญญัติและกฎกระทรวงหรือเทศบัญญัติของท้องถิ่น บังคับใช้เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องความคุมอาคาร พ.ศ. 2544 กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) และกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) เป็นต้น โดยจะมีการบังคับเกี่ยวกับแนวร่นอาคารจาก ทางสาธารณะ ที่ว่างด้านหน้า ด้านหลังอาคาร และระยะห่างเขตที่ดินข้างเคียง ซึ่งสรุปโดยรวมได้ดังนี้

1.   แนวร่นอาคารจาก ถนนหรือทางสาธารณะ
      กรณีที่ 1 อาคารพักอาศัย (สูงไม่เกิน 3 ชั้น สูงไม่เกิน10.00 เมตร พื้นที่รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (สูงไม่เกิน 2 ชั้นสูงไม่เกิน 8.00 ม. และมิใช่อาคารขนาดใหญ่)
      1.1  ถ้าถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6.00 เมตร ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลาง ถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3.00 เมตร
      1.2  ถ้าถนนสาธารณะกว้างมากกว่าง 6.00 เมตร รินแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะ ดังนี้
             1.   สูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 0.50 เมตร
             2.   สูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่เกิน 300 ตารางเมตรร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 1.00 เมตร
      กรณีที่ 2 อาคารพาณิชย์ อาคารอยู่อาศัยรวม ห้องแถวตึกแถวและอาคารอื่นๆ ที่มิใช่ตามกรณีที่ 1
      2.1  ถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 10.00 เมตร รินแนวอาคารจากกึ่งกลาง ถนนสาธารณะ6.00 เมตร
      2.2  ถนนสาธารณะกว้างมากกว่า 10.00 เมตร ร่นแนวอาคารจากเขตถนน อย่างน้อย 10% ของความกว้างถนน
      2.3  ถนนสาธารณะกว้างมากกว่า 20.00 เมตร ร่นแนวอาคารจากเขตถนนอย่างน้อย 2.00 เมตร
            (ทั้งนี้ถ้าอยู่ในถนนที่มีการบังคับระยะร่นไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ของกรมทางหลวงหรือ 15.00 เมตร ของกทม. ก็ต้องปฏิบัติตามด้วยครับ )
         
2.   ที่เว้นว่างด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างอาคาร
      กรณีที่ 1     ห้องแถว ตึกแถว
      1.1  สูงไม่เกิน 3 ชั้น ไม่อยู่ริมทางต้องมีพื้นว่างด้านหน้าอาคารอย่างน้อย 6.00 เมตร
      1.2  สูงเกิน 3 ชั้น ไม่อยู่อยู่ริมทางสาธารณะ ต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารอย่างน้อย 12.00 ม. (ตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป)
      1.3  ต้องมีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคารอย่างน้อย 3.00 ม.
      1.4  ต้องมีที่ว่างห่างเขตที่ดินด้านข้างอย่างน้อย 2.00 ม.
      1.5  ติดต่อกันได้ไม่เกิน 10 ห้อง และยาวรวมกันไม่เกิน 40 เมตร
      1.6  ทุก 10 ห้องต้องมีที่เว้นว่างไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร
      กรณีที่ 2  อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน อาคารอยู่อาศัยรวมและอาคารอื่นๆ (ยกเว้นอาคารอยู่อาศัย สูงไม่เกิน 3 ชั้น ที่มิใช่อยู่อาศัยรวม อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น และสูงไม่เกิน 8.00 เมตร.)
      2.1  สูงไม่เกิน 3 ชั้น ไม่อยู่ริมทางสาธารณะ ต้องมีที่ว่างหน้าอาคาร อย่างน้อย 6.00 เมตร
      2.2  สูงเกิน  3  ชั้น ไม่อยู่ริมทางสาธารณะ ต้องมีที่ว่างหน้าอาคารอย่างน้อย 12.00 เมตร
      2.3  ที่ว่างหน้าอาคารตามข้างต้น ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 1/6 เท่าของเส้นรอบรูปตัวอาคารนั้น และต้องไปต่อเชื่อมกับถนนภายในกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 ม. เพื่อออกสู่ถนนสาธารณะได้ (ถ้าเป็นถนนภายในที่ผ่านช่องลอด ในอาคารอื่นต้องสูงไม่ต่ำกว่า 5.00 เมตรด้วย)
      2.4  ต้องมีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

 
หมายเหตุ

1.   อาคารที่ไม่อยู่ริมทางสาธารณะหมายถึงอาคารที่อยู่ห่างจากทางสาธารณะเกินกว่า 20.00 เมตร
2.   มีหน้ากว้างของอาคารหันสู่ทางสาธารณะยาวน้อยกว่า 1/8 เท่าของความยาวเส้นรอบรูปอาคารนั้น
3.   ระยะห่างเขตที่ดินข้างเคียงของช่องแสง ช่องระบายอากาศ, ประตู, หน้าต่างและริมกันตกระเบียบของอาคารต่างๆ
       3.1 ตั้งแต่ชั้น1 และชั้น 2 ต้องห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
       3.2 ตั้งแต่ชั้น 3 ขึ้นไป ต้องห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
4.   ที่ว่างโดยรอบอาคารต่างๆ (ตามที่บัญญัติกทม. พ.ศ. 2544 และกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)
       4.1 อาคารอยู่อาศัย สูงไม่เกิน 3 ชั้น พื้นที่รวมไม่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีพื้นว่าง โดยสอบไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร (ยกเว้นได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง)
       4.2 อาคารต่างๆ ที่มีความสูงไม่เกิน 15.00 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร
       4.3 อาคารต่างๆ ที่มีความสูงเกิน 15.00 เมตร แต่ไม่ถึง 23.00 เมตรต้องมีพื้นที่ว่าง โดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
       4.4 อาคารต่างๆ ที่มีความสูง ตั้งแต่ 23.00 เมตรขึ้นไป ต้องมีพื้นว่างโดยรอบไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร
         
ตามที่ได้นำเสนอข้างต้นเป็นเรื่องของระยะร่น ระยะห่างเขตที่ดิน ที่ว่างโดยรอบอาคารครับ ยังมีเรื่องที่ว่างและระยะต่างๆ ที่มีบังคับไว้ตามกฎหมายควบคุมอาคารอีกหลายกรณีครับ ซึ่งข้อบังคับต่างๆ ในการออกแบบก่อสร้างอาคารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องทุกข้อนะครับ  โดยยึดถือส่วนที่บังคับมากที่สุดเป็นเกณฑ์นะครับ โดยในบทความครั้งต่อไป จะได้กล่าวถึงในเรื่องที่ว่างและระยะต่างๆ ครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/4/6/167.html