ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ความผิดทางอาญา



1. ความผิดทางอาญา
                ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
               1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
    2. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
                บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
                1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
                กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
                กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
                2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
                3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
                กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
                อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ
                1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
                2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
                กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้  เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท

ข้อขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaigoodview.com/node/89936

กฎหมาย กับ ศาสนา ในประเทศไทย


      เนื่องจากความแตกต่างอย่างมากในเรื่องจารีตทางศาสนา การนับถือศาสนาของบุคคล จึงควรเป็นเรื่องที่มีผลทางศาสนาอย่างจริงจัง มากกว่าเป็นเพียงส่วนที่ประดับในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทยเท่านั้น

           ผมเห็นด้วยว่า ประเทศไทยไม่ควรมีศาสนาประจำชาติ แต่ก็ควรรมีกฎหมายบังคับใช้ สำหรับบุคคลในแต่ละศาสนา ที่มีความต่างในเรื่องจารีต ต่างๆกันไป และเมื่อมันเป็นเรื่องจริงจัง การนับถือศาสนาจึงควรกระทำอย่างจริงจัง

           เมื่อบุคคลมีวัยวุฒิเพียงพอ คือ เมื่อทำบัตรประชาชนครั้งแรก อายุ 15 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ก็ เมื่อมีวุฒิภาวะเพียงพอ คืออย่างน้อย 18 ปีบริบูรณ์ เท่าๆกับที่ได้รับสิทธิในการเลือกตั้งควรมีการเลือกศาสนาอย่างจริงจัง โดยมีกระบวนการที่เป็นแบบแผน ควรได้รับการอ้างอิงจากผู้นำทางศาสนาในระดับท้องถิ่นเป็นต้น ว่าบุคคลดังกล่าว เป็นผู้นับถือและประพฤติตัว อยู่ในศาสนานั้นๆจริง

            ทำไมจึงเป็นเรื่องจริงจัง?  ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดบทหนึ่ง คือเกี่ยวกับเรื่องการสมรส ที่นอกจากศาสนาอิสลามที่ผู้ชาย 1 คน สามารถสมรสกับ หญิงได้ถึง 4 คนแล้ว ศาสนาอื่น เท่าที่ทราบ เชื่อว่าควรมีคู่สมรสแค่ 1 คนเท่านั้น

            เท่าที่นึกออก คงมีผลอย่างมากในเรื่องการรับรองบุตร เรื่องสินสมรส และเรื่องเกี่ยวกับมรดก เชื่อว่า สำหรับประชาชนในศาสนาอิสลาม คงมีปัญหากันมายาวนาน และอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่เขาอยากได้กฎหมายอิสลามกัน

            ต่อเนื่องจากการเลือกศาสนา คือกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการสมรส คือหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ควรบังคับให้ต้องทำบัตรประชาชนใหม่ในทันที ซึ่งบัตรประชาชน จะต้องระบุชื่อคู่สมรสไว้อย่างชัดเจนด้วย สิ่งนี้ไม่ได้เป็นการริดรอนสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ตรงกันข้าม กลับช่วยปกป้องสิทธิฯให้กับประชาชนในหลายๆด้านด้วย ทั้งป้องกันการจดทะเบียนซ้อน การหลวกลวง ฉ้อโกง ทำฉ้อฉลต่างๆ

            รวมไปถึงการมีชู้ ที่ควรจะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ที่มีโทษรุนแรงสักหน่อย มากกว่าจะปล่อยให้แล้วแต่จารีตของแต่ละสังคม เพราะปัญหาเรื่องชู้สาว มีผลกระทบต่อสังคมในหลายมิติ มีทั้งเสียทรัพย์ เสียประโยชน์ ปัญหาเยาวชน หรือเสียชีวิต เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียต่อรัฐไปมากมายในแต่ละปี เพราะปัญหาเรื่องชู้สาว ก่อให้เกิดคดีตามมาอีกมากมาย เฉพาะคดีฆาตกรรมก็มากมาย และยังนำไปสู่การหย่าร้าง กลายเป็นคดีมรดก การเกิดเด็กกำพร้าหรือเยาชนที่เป็นภาระของรัฐจำนวนมาก เป็นต้น

            ไม่ว่าจะมองในมิติใด ประเทศไทยก็ไม่ควรจะละเลยในปัญหาดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องจัดการอย่างจริงจัง เพราะชาติจะเข้มแข็งได้ สถาบันครอบครัวก็ต้องแข็งแกร่งเสียก่อน หากละเลยเช่นปัจจุบันต่อไป ลูกหลานในอนาคต อาจเรียกร้องให้เปิดเป็นเพศเสรี(Free Sex)เสียเลย ก็เป็นได้ เพราะนับวัน ระบบจารีตนั้น อ่อนแอลงทุกวัน แค่ปัจจุบัน ก็แทบควบคุมใครไม่ได้อยู่แล้ว

             ที่ผ่านมา เราถือว่ากฎหมายประชาชนต้องปฏิบัติตามโดยเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริง เราย่อมรู้ว่า มันยังไม่เหมาะสมเพียงพอกับความแตกต่างที่มีอยู่จริงของคนในสังคม โดยเฉพาะความต่างทางศาสนา ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ใช้เป็นประเด็นในการเคลื่อนไหวเป็นสำคัญ หากรัฐมีการปรับตัวเข้าหาประชาชนอย่างเหมาะสม ก็ควรสร้างทางออกนี้ให้กับประชาชน แทนที่จะบังคับด้วยวิธีต่างๆนานา ให้ประชาชนปรับตัวเข้าหารัฐแต่ถ่ายเดียว

             หากสิ่งนี้ ได้เป็นจริงขึ้นมาในอนาคต ศาลยุติธรรมก็จำเป็นต้องมีความชำนาญพิเศษในเรื่องศาสนามากขึ้น วิธีพิจารณาคดีของบุคคลในแต่ละศาสนาจะละเลยหลักยึดถือในการดำเนินชีวิตของแต่ละศาสนาไปไม่ได้

             ความคิดนี้ ผมนำมาแบ่งปัน เพราะอาจเป็นทางออกให้ประเทศไทยสงบสุขลงได้ โดยเฉพาะอาจสามารถช่วยแก้ปัญหาทางใต้ได้อีกทางหนึ่ง ที่ผมยกขึ้นมานี้ เป็นเพียงประเด็นเล็กๆ เพียงเรื่องเดียว จากปัญหาอีกมากมายในเรื่องความต่างทางศาสนากับกฎหมายไทย หากผู้มีอำนาจบริหารประเทศ เห็นความสำคัญของเรื่อง ความเข้มแข็งทางศาสนาในชาติมากพอ ประเทศย่อมเข้มแข็งตามไปด้วย ความสงบสุขย่อมเกิดขึ้นแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://en-gb.facebook.com/notes/tanadej-tamanakin/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/155104767860180

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

มัดจำ กับเบี้ยปรับ


มัดจำ
            มัดจำ คือ สิ่งที่คู่สัญญาได้ส่งมอบให้ไว้แก่กัน ซึ่งอาจเป็นเงิน หรือของมีค่าในตัว เพื่อเป็นพยาน หรือเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา เช่น สร้อยคอทองคำ แหวนเพชร (โฉนดที่ดิน หนังสือค้ำประกันธนาคาร สัญญากู้เงิน ไม่มีค่าในตัวเอง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร โดยสภาพส่งมอบไม่ได้ ดังนั้น ให้ไว้จึงไม่ใช่มัดจำ)
            มัดจำมิใช่การชำระหนี้ล่วงหน้า เมื่อชำระหนี้เสร็จต้องคืนมัดจำ
            มัดจำเป็นสัญญาอุปกรณ์ ดังนั้นจะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับสัญญาประธาน
            การริบมัดจำเป็นกฎหมายพิเศษ ลูกหนี้ไม่มีสิทธิขอหักมัดจำเพื่อชำระหนี้ และถ้ายังชำระหนี้ไม่ครบถ้วนสิ้นเชิง มัดจำต้องถูกยึดไว้เป็นประกันต่อไป ถ้ามิได้ตกลงเรื่องการริบมัดจำ ต้องปฏิบัติดังนี้
                        ให้จัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วน
ให้คืน เมื่อชำระหนี้สิ้นเชิง
                ให้คืน เมื่อฝ่ายที่รับมัดจำไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันต้องรับผิดชอบ                
                        ให้ริบ เมื่อฝ่ายวางมัดจำ ไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันต้องรับผิดชอบ จะริบมัดได้จำต้องเลิกสัญญาก่อน
หากเจ้าหนี้บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้หมดสิทธิริบมัดจำ แต่ไม่ตัดสิทธิเรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๒๒๒,๒๒๓  เว้นแต่กำหนดในสัญญาห้ามเรียกได้ไม่ขัดมาตรา ๓๗๓


เบี้ยปรับ
            เบี้ยปรับ คือ การกำหนดจำนวนเงิน หรือการกำหนดการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอันหนึ่งอันใด เพื่อเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน ซึ่งคู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร การกำหนดเบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์ หากการชำระหนี้ตามสัญญาประธานไม่สมบูรณ์ ข้อตกลงเรื่องเบี้ยปรับย่อมไม่สมบูรณ์ด้วย แม้คู่สัญญาจะรู้ว่าข้อสัญญานั้นไม่สมบูรณ์ก็ตาม เช่น สัญญาเช่าซื้อกฎหมายกำหนดต้องทำเป็นหนังสือ ข้อสัญญาเรื่องเบี้ยปรับก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ประโยชน์ของเบี้ยปรับ
๑.    เป็นประกันความรับผิดตามสัญญา โดยริบได้โดยไม่ต้องนำสืบพิสูจน์ถึงความเสียหาย
๒.   เป็นการชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ทุกอย่างไม่เฉพาะแต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน แม้เจ้าหนี้ไม่เสียหายก็มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้อันเป็นการลงโทษฐานผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ เช่น ผิดสัญญาไม่ซื้อที่ดิน แม้ที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นเจ้าหนี้ไม่ได้รับความเสียหาย ก็มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตามสัญญา
๓.   เป็นการจำกัดความรับผิดของลูกหนี้ สามารถกำหนดไว้ในสัญญาได้ว่าไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายอื่นอีกได้


การกำหนดเบี้ยปรับเป็นเงิน
เจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับ สิทธิที่จะเรียกให้ชำระหนี้เป็นอันระงับ แต่การเรียกเอาเบี้ยปรับไม่ตัดสิทธิเรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๒๒๒ (ค่าเสียหายเฉพาะกรณีการเลิกสัญญา เท่านั้น ได้แก่ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ จากพฤติการณ์ที่คู่กรณีคาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ต้องรู้หรือควรรู้ล่วงหน้าก่อนผิดสัญญาจนถึงขณะที่ผิดสัญญา เช่น กำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการนำสินค้าไปขายต่อ เป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ ผู้สั่งซื้อจึงต้องพิสูจน์ว่าผู้ขายได้รู้หรือควรจะรู้ถึงการที่จะนำทรัพย์นั้นไปขายต่อเอากำไร , ฏ ๑๓๔๖/๒๕๑๗ป. ค่าใช้จ่ายในการไปมาเพื่อฟ้องคดี ค่าใช้จ่ายของทนายความ ไม่ใช่ค่าเสียหาย ตาม ๒๒๒)
            เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับย่อมหมดไป แต่เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในฐานจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายได้ โดยต้องพิสูจน์ค่าเสียหายตาม ๓๘๐ วรรค ๒
            เบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์ สัญญาประธานต้องสมบูรณ์ถึงจะบังคับได้
เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลปรับลดลงพอสมควรได้ แต่เมื่อได้ใช้เงินค่าปรับแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีในสัญญามีการกำหนดค่าปรับ
        กรณี ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เลย  (การไม่ชำระหนี้ หมายถึงอาจเป็นการไม่ชำระหนี้สิ้นเชิงหรือบางส่วน หรือไม่ชำระหนี้ประธานหรือหนี้อุปกรณ์ เช่น ดอกเบี้ย ก็ได้ ปพพ. ๓๘๗,๓๘๘)
                        หากเจ้าหนี้เลือกเอาเบี้ยปรับ สิทธิเลือกให้ชำระหนี้เป็นอันระงับ โดยเจ้าหนี้ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน แต่ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๒๒๒
และหากสัญญากำหนดห้ามเรียกค่าเสียหาย ก็เรียกค่าเสียหายอีกไม่ได้ ถือว่าเบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายแล้ว เขียนสัญญายกเว้นมาตรา ๒๒๒ ได้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
                        หากเจ้าหนี้เลือกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับย่อมหมดไปตามมาตรา ๒๑๓ แต่เรียกค่าเสียหายตามความเป็นจริงได้ตามมาตรา ๓๘๐ วรรค ๒

 
กรณีชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร เช่น ไม่ตรงตามกำหนดเวลา
            หากเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับได้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายมากกว่าเบี้ยปรับ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนโดยพิสูจน์ค่าเสียหาย ตามมาตรา ๓๘๐ วรรค ๒ แต่ถ้าเจ้าหนี้ไม่เสียหายหรือเสียหายน้อยกว่าเบี้ยปรับ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายมากกว่าเบี้ยปรับ (ฏ ๒๒๑๖/๒๕๑๕ ป.)
            หากเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้ โดยยังไม่ได้รับเบี้ยปรับ ต้องสงวนสิทธิไว้ ( การสงวนสิทธิไม่มีการกำหนดรูปแบบไว้ ดังนั้น จึงจำต้องแสดงเจตนาให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้เข้าใจการแสดงเจตนาดังกล่าว แต่การที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบ จะถือว่าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้วไม่ได้ จึงไม่ต้องสงวนสิทธิ ฏ ๑๐๗๘/๒๔๙๖)
            หากเจ้าหนี้ยอมรับเบี้ยปรับโดยยังไม่ได้รับชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ ไม่ต้องสงวนสิทธิ
            หากเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้
ให้ใช้สิทธิตามสัญญาเรียกเบี้ยปรับ แต่สิทธิเรียกให้ชำระหนี้ย่อมขาดไป และมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามความเป็นจริงตาม ๒๒๒ โดยต้องพิสูจน์ หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้ หรือเสียหายน้อยกว่าเบี้ยปรับ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม เพราะไม่มีความเสียหายที่จะพิสูจน์เอาได้
ให้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา เพื่อคู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา ๓๘๑ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ได้ตามมาตรา ๒๑๖
(ฏ ๖๖๔/๒๕๓๐ เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหาย โจทก์จึงเรียกเอาค่าเสียหายอีกไม่ได้เพราะเป็นการเรียกเอาค่าเสียหายที่เกินกว่าความเสียหายที่ได้รับ ขัดต่อ ปพพ.มาตรา ๓๘๐ วรรค ๒)
อย่างไรก็ตามหากเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา ๓๘๓ โดยพิจารณาจากทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย
            อนึ่ง หากมีการกำหนดเบี้ยปรับเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน เจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับแล้วไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน (ปพพ. มาตรา ๓๘๒)
ความแตกต่างระหว่างมัดจำกับเบี้ยปรับ

มัดจำ
เบี้ยปรับ
๑. เป็นสิ่งที่คู่สัญญาให้ไว้แก่กันเพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา
๑. เป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน ซึ่งคู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร

๒. เป็นเงินหรือสิ่งของมีค่าในตัวเอง
๒. เป็นเงิน หรือการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน ได้แก่ การกระทำ งดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สิน
๓. คู่สัญญาต้องส่งมอบให้ไว้แก่กับ
๓. คู่สัญญาอาจส่งมอบแก่กัน หรือเพียงกำหนดเบี้ยปรับโดยไม่ส่งมอบก็ได้
๔. ต้องส่งมอบไว้แก่กันขณะทำสัญญาๆ
๔. อาจส่งมอบหรือตกลงกำหนดไว้มนสัฯฯอันก่อหนี้หรือสัญญาเพิ่มเติมในภายหลังก็ได้


ข้อขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.ocpb.go.th/board_post.asp?id=1965&idsub=5

ข้อแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ และ ซีวิล ลอว์


1. ที่มาของกฎหมาย
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ มีที่มาจากจารีตประเพณี คำพิพากษาของศาลก็ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะคำพิพากษาของศาลที่ตัดสินคดีต่าง ๆ ถือเป็นบรรทัดฐาน ที่ศาลต้องยึดถือเมื่อมีกรณีอย่างเดียวกันเกิดขึ้น นอกจากนี้ หลักความยุติธรรมก็ถือได้ว่าเป็นที่มาของกฎหมายที่ศาลนำมาใช้ให้เกิดความเสมอภาค และกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติโดยรัฐสภาอังกฤษ
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ ส่วนมากเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ในบางกรณีก็มีที่มาจากจารีตประเพณี
2. วิธีพิจารณาคดี
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ มีลูกขุนทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนผู้พิพากษาจะทำหน้าที่วางหลักกฎหมายและชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย เป็นการพิจารณาคดีระบบปรปักษ์
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ ไม่มีลูกขุน ผู้พิพากษาทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญญาข้อเท็จจริงและปัญหากฎหมายใช้ระบบเสาะหาข้อเท็จจริง หรือระบบไต่สวน และระบบกล่าวหาที่คล้ายครึงกับระบบปรปักษ์
3. การจำแนกประเภทกฎหมาย
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ ไม่นิยมแบ่งแยกประเภทกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ แต่มีการแบ่งเป็นกฎหมาย คอมมอน ลอว์ และหลักความยุติธรรม ศาลเป็นระบบศาลเดี่ยวคือมีศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียว
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ แยกประเภทกฎหมายออกเป็น กฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน ดังนั้นข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจะขึ้นศาลปกครอง คดีทั่วไปขึ้นศาลยุติธรรม เป็นระบบศาลคู่
4. ผลของคำพิพากษา
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ เมื่อศาลได้พิพากษาและกำหนดแบบอย่างอันเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายแล้วศาลต่อ ๆ มาต้องผูกพันที่จะพิพากษาไปในแนวทางเดียวกัน
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ คำนึงถึงตัวบทเป็นสำคัญ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาไปแล้วคำพิพากษาของศาลไม่ถือเป็นบรรทัดฐาน ศาลต่อมาไม่จำเป็นต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน
5. การศึกษากฎหมาย
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ ศึกษาจากคำพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐาน
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ ศึกษาจากตัวบทกฎหมาย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://alismagi.wordpress.com/2011/05/30/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2-lw103-commoncivil/

ความแตกต่างของกม.มหาชนและเอกชน


  กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน หรือ ระหว่างรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐมีอำนาจเหนือกว่าเอกชนโดยที่รัฐเป็นผู้ใช้ อำนาจปกครอง (รัฐกับรัฐ ,รัฐกับราษฎร ,,,รัฐมีฐานะเหนือกว่า)

กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่าง เอกชนกับเอกชนในฐานะที่เอกชนมีความเท่าเทียมกันและต่างเป็นผู้อยู่ภายใต้ อำนาจปกครองของรัฐ (ราษฎรกับราษฎร ,,,ฐานะเท่าเทียมกัน)

กฎหมาย มหาชนกับกฎหมายเอกชนจึงแตกต่างกันในข้อสำคัญคือ กฎหมายมหาชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐและผู้ ปกครองกับพลเมือง ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและบนพื้นฐานของ "หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนา" หรือบนพื้นฐานของความเป็น"อิสระของการแสดงเจตนา" โดยจะอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน ทั้ง 6 ประการ ได้ดังนี้
ด้านองค์กรหรือตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์
ด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (วัตถุประสงค์)
ด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์
ด้านนิติวิธี
ด้านนิติปรัชญา
ด้านเขตอำนาจศาล


1. ด้านองค์กรหรือตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ กล่าวคือ
กฎหมายมหาชน องค์การหรือบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์ คือ "รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่ง" กับเอกชนฝ่ายหนึ่ง
แต่กรณีของกฎหมายเอกชน ตัวบุคคลที่เข้าไปทำนิติสัมพันธ์คือ "เอกชนกับเอกชน"


2. ด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (วัตถุประสงค์)
กฎหมายมหาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสาธารณะประโยชน์และการให้บริการสาธารณะ โดยไม่ได้มุ่งหวังในเรื่องกำไร
แต่ กรณีของกฎหมายเอกชนนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน (แต่บางกรณีซึ่งเป็นข้อยกเว้น เอกชนก็อาจทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ เช่น นักจิตอาสา การตั้งมูลนิธิหรือสมาคมเพื่อการกุศล เป็นต้น)


3. ด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์
กฎหมาย มหาชนมีลักษณะเป็น "การบังคับและหลีกเลี่ยงไม่ได้" ออกมาเป็นรูปคำสั่งหรือข้อห้ามที่เรียกว่า "การกระทำฝ่ายเดียว" กล่าวคือ เป็นการกระทำซึ่งฝ่ายหนึ่งสามารถกำหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ฝ่ายหลังไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย เช่น การออกกฎหมายให้ประชาชนเสียภาษี เป็นต้น
ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็น "อิสระในการแสดงเจตนา" มีความเสมอภาคและเสรีภาพในการทำสัญญา คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะบังคับอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้


4. ด้านนิติวิธี
นิติวิธีของกฎหมายมหาชนจะไม่นำหลักกฎหมายเอกชนมาใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นตามกฎหมายมหาชน แต่จะสร้างหลักของกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้เอง
ส่วนนิติวิธีทางกฎหมายเอกชนนั้น จะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและมุ่งรักษาประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน


5. ด้านนิติปรัชญา
นิติปรัชญากฎหมายมหาชนนั้น มุ่งประสานประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
แต่นิติปรัชญากฎหมายเอกชนเน้นความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และอยู่บนเสรีภาพความสมัครใจของคู่กรณี


6. ด้านเขตอำนาจศาล
ปัญหา ทางกฎหมายมหาชนจะขึ้นสู่ศาลพิเศษ ได้แก่ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาคดีจะใช้"ระบบไต่สวน" ผู้พิพากษาจะสืบหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานด้วยตนเอง
ส่วนปัญหาตาม กฎหมายเอกชนนั้นขึ้นศาลยุติธรรม ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลอาญา วิธีพิจารณาคดีจะใช้"ระบบกล่าวหา" คือ ผู้เป็นคู่กรณีจะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ข้อกล่าวหาของตนเอง

ข้อขอบคุณข้อมูลจาก
http://desolation.exteen.com/20120124/lw101

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ครอบครองปรปักปักษ์ที่ดินมรดกได้หรือไม่


         1. ก่อนที่แม่จะเสียได้บอกว่าจะโอนที่ดินให้ลูกทุกคนในส่วนที่เท่าๆ กัน...แต่แม่ได้โอนให้แก่ลูกคนสุดท้องเพียงคนเดียว  หลังจากนั้น..แม่เสีย..ลูกคนอื่นๆก็มาอยู่ในที่ดินนี้...แต่คนสุดท้ายไม่ได้อยู่..จนเลยระยะเวลาเป็น 10  กว่าปีแล้ว...ในส่วนนี้จะฟ้องครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่ครับ..และต้องทำอย่างไร..กรณี ข้ออ้างที่ว่า เป็นพี่น้องกันเลยปล่อยให้ทำประโยชน์ในที่ดิน จะอ้างได้ไหม..
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          การครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382  นั้น  จะต้องเป็นกรณีที่ได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ  ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี  บุคคลผู้ครอบครองนั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น
          เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์สินของน้องคนสุดท้อง  ซึ่งน้องนั้นไม่ได้อยู่ในที่ดินนั้น  ซึ่งเมื่อลูกคนอื่น ๆ ได้เข้ามาครอบครองการทำประโยชน์ในที่ดินนั้น  ก็ถือว่าลูกคนอื่น ๆ  ได้ยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครองน้องคนสุดท้ายนั้น  หากทางลูกคนอื่น ๆ  มีเจตนาครอบครองเป็นเจ้าของให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์  เพราะฉะนั้นลูกคนอื่น ๆ  จะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแทนน้องคนสุดท้องนั้น  ไปยังน้องว่า "พวกตนไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินดังกล่าวแทนน้องต่อไป หรือ ตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก  ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381  เพราะฉะนั้น  เมื่อลูกคนอื่น ๆ ได้  บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแทนไปยังน้องแล้ว  และได้ครอบครองที่ดินนั้น  ติดต่อกันครบ 10 ปี  โดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ  ลูกคนอื่นย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
         อนึ่ง  ส่วนกรณีข้ออ้างที่ว่า  เป็นพี่น้องกันเลยปล่อยให้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว  ย่อมเป็นเรื่องที่หากมีคดีร้องขอให้ศาลสั่งว่า  ลูกคนอื่น ๆ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์  ทางฝ่ายน้องคนสุดท้องเจ้าของที่ดิน  ย่อมอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คัดค้านคำร้องต่อศาลได้  ซึ่งศาลจะรับวินิจฉัยหรือไม่ก็ย่อมเป็นดุลยพินิจของศาลเอง
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครองบุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก
มาตรา 1382  บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=5844

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการท่องตัวบท


     อย่างที่เคยบอกไปแล้วนะครับ ว่าสมองเราทำงานมีระบบในการจดจำสองส่วนคือที่ทำงานคล้ายกล้องถ่ายรูป กับส่วนนึกหรือระลึกถึง ในเรื่องการท่องตัวบทซึ่งเป็นเหมือนอาวุธหรือสิ่งสำคัญที่เราเหล่านักกฎหมายต้องใช้ในการสอบทุกคร้ง(บางคนบอกว่าจำแต่หลัก แล้วก็เขียนก็สอบผ่าน แต่เชื่อผมนะครับสำหรับการสอบทั้งสามสนาม คนตรวจยังเป็นนักกฎหมายรุ่นเก่าๆ จำนวนมาก ยังอดให้คะแนนตัวบทไม่ได้แน่นอน) ดังนั้นเราคงต้องพยายามจดจำหรือท่องตัวบทให้ได้
การท่องตัวบทเราก็ต้องจัดความสำคัญตัวบทที่เราจะท่องก่อนว่า มาตราไหนที่ต้องจำอย่างแม่นยำ มาตราไหนจำแต่หลักๆ มาตราไหนให้พอรู้ว่าเป็นเรื่องอะไร แบ่งเป็นสามส่วนเหมือนการจัดเนื้อหาในการอ่านหนังสือนั่นละครับ

เมื่อเราจัดลำดับมาตราเป็นสามส่วนแล้วก็มาถึงการที่จะท่องตัวบท ผมอยากให้เพื่อนๆวางตารางการท่องตัวบทตั่งแต่เนิ่นๆ เช่นก่อนสอบ สาม สี่เดือน โดยท่องทุกวันวันละ ๕-๒๐ มาตรา ใช้เวลาในช่วงเช้า รอบแรกก็จะจำได้ยากและท้อ แต่เราต้องท่องประมาณ ๓-๔ รอบจึงจะสามารถจำได้ หลายคนท่องไปแล้วลืมก็เครียด อันนี้อยากบอกว่าเป็นเรื่องปกติครับ ไม่ลืมสิแปลก แต่การที่เราท่องตัวบททุกวันจะทำให้สอง สาม วันก่อนสอบ เราสามารถทบทวนได้ทัน และจำได้เร็ว แต่ถ้าไม่ท่องก่อน ไปอัดๆช่วงใกล้สอบจะเอียน และไม่อยากจำ ทั้งมีความกังวลกดดดันทำให้จำไม่ได้
สรุปนะครับ คือเทคนิคการท่องตัวบท
๑. จัดลำดับความสำคัญของมาตราต่างๆ ในแต่ละเรื่อง ถ้าเวลาน้อยเลือกๆมาท่อง โดยจัดลำดับความสำคัญตามโอกาสในการออกข้อสอบ
๒. ท่องตัวบททุกวัน โดยวางตารางแต่ละวันให้ถึงวันสอบแล้วได้ประมาณ ๓ รอบ โดยให้แต่ละรอบเวลาน้อยลงตามลำดับ แรกๆวันละ ๕-๑๐ มาตรา ต่อมา ๑๐-๒๐ มาตรา ก่อนสอบอาจทบทวนวันเดียวทั้งหมดก็ได้ ( สมองพวกเราทำได้จริงๆนะครับ) และให้ท่องสลับวันสอบกัน เช่น เอามาตราวันสอบวันที่แรกมาท่องก่อน และท่องของวันที่สอง ประมาณเวลาการท่องทั้งสองรอบให้ครบก่อนวันสอบวันแรกหนึ่งสัปดาห์และใช้สัปดาห์สุดท้ายท่องของวันแรกแล้วเข้าไปสอบ และใช้สัปดาห์ก่อนสอบวันที่สองทบทวนตัวบทของวันที่สอง..............แล้วสมองเราจะไม่สับสน
๓. มาถึงสิ่งที่พวกเพือนๆอยากรู้คือทำยังไงจึงจะจำได้ อันนี้ลำบากนิดนึงแต่พยายามได้ครับ คือเราใช้สมองในการอ่านตัวบท ทำความเข้าใจ และพยายามใช้สมองที่เหมือนกล้องถ่ายรูปจดจำรูปประโยคและย่อ บรรทัด ของตัวบทที่เราใช้ แล้วปิดและนึกถึงสิ่งที่เราท่อง เวลาท่องควรเดินให้เกิดการหมุนเวียน สิ่งที่พยายามจำเข้าสู่สมอง(อันนี้ความเชื่อส่วนตัว)
๔. การใช้สมองส่วนนึกคิดนั้นนอกจากจะใช้ตอนอ่าน เพื่อนๆอาจใช้เวลาต่างๆได้อีก คือให้เราพยายามถือประมวลกฎหมายติดตัวไปทุกที่ เมือเราเห็นตัวเลข จากป้ายทะเบียนรถ หรือป้ายโฆษณา หรือจากที่ไหนก็ตามให้เราทำเหมือนเล่นเกม คือสมุด เราเห็น ตัวเลข ๕๔๒๐ ก็ให้เราพยายามนึกว่า มาตรา ๔๒๐ แพ่งคืออะไร อาญาคืออะไร วิแพ่งคืออะไร วิอาญา คืออะไร อันนี้ก็จะได้ตอบ ถ้าเป็นมาตราสำคัญต้องจำได้ทั้งหมด สำคัญบ้างต้องจำหลักได้ ถ้าไม่สำคัญต้องให้รู้ว่ามาตราดังกล่าวอยู่ในเนื้อหาส่วนไหน หรือต้องนึกให้ออกว่าตัวบทที่เราท่องมีถึงมาตรานั้นหรือไม่...........นึกไม่ออกก็เปิดตัวบทที่เราถือติดตัวมาดูนั่นละ เหมือนเราเล่นเกมสนุกกับตัวเองและได้ความรู้ตลอด

เราเป็นนักกฎหมายตราบใดที่ยังต้องพยายามสอบ ให้พยายามพกตัวบทติดตัวเสมอนะครับ เหมือนกระบี่ของพวกเรา
ผมพยายามอธิบายแต่คง งงๆบ้างนะครับ เพราะไม่เหมือนนั่งคุยกัน และยกตัวอย่างให้เห็นโดยการพูด แต่หวังว่าที่พิมมาข้างบนจะให้ประโยชน์กับเพื่อนๆบ้างนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.netithai.com/index.php?topic=420.0

เทคนิคช่วยในการจดจำในการอ่านหนังสือ

   อย่างที่ผมเคยโพสไปหลายครั้งแล้วว่าคนเราเมื่ออะไรประมาณสี่ครั้ง จะจำได้เองโดยอัตโนมัติ แต่ที่เพื่อนหลายคนมีปัญหาคือเมื่ออ่านหนังสือไปแล้ว รู้สึกว่าตัวเองไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ กังวลว่ามีหนังสือหลายเล่มที่ต้องอ่าน ผมจึงอยากแนะนำคือว่าเราอ่านหนังสือรอบแรกก็เหมือนเราเพิ่งรู้จักเพื่อนคนใหม่ เรายังไม่สามารถรู้จักนิสัยเขาได้ดีพอในครั้งเดียว จำต้องใช้เวลาสักระยะ ดังนั้นการอ่านหนังงสืออย่าได้มัวที่จะกังวลว่าจำได้หรือไม่ได้ ให้พยายามอ่านให้ได้เยอะที่สุด มากที่สุด ให้เห็นในภาพรวมเพื่อความสบายใจว่าได้อ่านหนังสือเล่มนั้นๆ เรื่องนั้นจบแล้ว และคิดว่าเดี๋ยวคงได้กลับมาอ่านอีก
การอ่านหนังสือควรวางสายตาให้อยู่ตรงกลางของบรรทัดโดยพยายามถ่างสายตาเหมือนดูภาพรวมๆ ให้เร็วที่สุด แต่ตรงไหนที่อ่านเร็วๆแล้วรู้สึกว่าติดขัดจึงค่อยอ่านช้าลงในช่วงนั้น แต่ส่วนใหญ่ให้พยายามถ่างสายตา
โดยประมาณถ้าเป็นคำบรรยายทั่วไปชั่วโมงหนึ่งควรอ่านได้ประมาณ สิบห้า ถึง ยี่สิบหน้า
แต่ถ้าเป็นจูริสที่เป็นฎีกาจะได้ประมาณสิบถึงสิบห้าหน้า
(แรกๆจะช้าแต่ถ้าฝึกเรื่อยๆจะพัฒนาไปเอง และควรกำหนดว่าแต่ละวันจะอ่านกี่หน้า) หลายคนจะแย้งว่าอ่านมากหรือน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่เข้าใจหรือไม่ แต่ที่ผมบอกคือว่าเรานักกฎหมายต้องอ่านหนังสือเยอะมาก และรอบแรกอ่านก็ไม่เข้าใจ ถ้ามั่วอ่านช้าๆและกว่าจะทำความเข้าใจทีละเรื่อง ก็อ่านไม่ทัน แถมเรื่องที่เข้าใจก็ไม่ออกข้อสอบ ดังนั้นรอบแรกควรพยายามอ่านให้จบตามเป้าหมาย
รอบสองตรงนี้คือสมองมนุษย์เราจะมีทั้งที่ใช้ในความจดจำทางสายตา ซึ่งทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูป ก็คือเวลาเราอ่านก็จะจำและถ่ายทอดไปสู่สมอง(สังเกตุคนที่ท่องตัวบท จะไม่ค่อยเปลี่ยนเล่มเพราะรูปบรรทัดและย่อหน้าตัวบทที่เคยใช้แล้วจะคุ้นเคยกว่า) และสมองอีกส่วนหนึ่งคือส่วนนึกคิด ซึ่งตรงนี้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ คือจะอ่านๆและก็อ่านซ้ำๆจนกว่าจะจำได้ ผมจึงอยากบอกว่าเราอาจใช้สมองทั้งสองส่วนในการช่วยจดจำกับการอ่านหนังสือครั้งหนึ่งๆได้คือ อย่างที่บอกว่าเราอ่านหนังสือครั้งหนึ่งสมาธิอยู่ได้ ๕๐ นาที ใช้เวลาจากเริ่มนั่งจนมีสมาธิ ๑๐ นาที รวมตั้งแต่เริ่มนั่งจนถึงลุกขึ้นเดิน ๑ ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้เมื่อนั่งอ่านหนังสือจบเรื่อง ใน ๑ ชั่วโมงแล้วให้รุกเดินให้สมองผ่อนคลายและนึกเรื่องที่ได้อ่านมาเมื่อชั่วโมงที่แล้ว เล่าให้เพื่อนหรือตนเองฟัง ถ้าเล่าได้แสดงว่าเข้าใจ ถ้าเล่าไม่ได้ก็แสดงว่าเข้าใจไม่จริง เล่าได้ถึงตรงไหน ติดขัดก็ไปเปิดตรงนั้นและพยายามเล่าต่อให้จบที่ผ่าน ก็จะทำให้เราสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านมาได้หมด

เพิ่มเติมในตอนต้นนิดนึง เพื่อนๆหลายคนที่มีปัญหาว่าอ่านแล้วก็ลืม เรื่องที่เคยเข้าใจแล้ว พอมาอ่านอีกวิชาหนึ่งก็ลืม ทำให้เครียดว่าจำอะไรไม่ได้เลย ตรงนี้อย่ากังวลนะครับ การที่เราอ่านอะไรแล้วลืมเป็นเรื่องธรรมดา เพียงแต่ถ้าเรามีทบทวนอีกรอบมันจะเร็วขึ้น การเลือนหายไปของความจำเป็นเรื่องธรรมดาแต่ถ้าเรานึกถึงบ่อยๆ ก็จะทำให้การเลื่อนหายน้อยลงไป

สรุปดังนี้นะครับ คือให้เราใช้สมองของเราทั้งสองส่วน ส่วนที่เป็นเหมือนกล้องถ่ายภาพคือการอ่านด้วยสายตา กับอีกส่วนคือส่วนนึกคิด ทั้งสองอย่างในการอ่านหนึ่งครั้ง จะทำให้จดจำดีขึ้น
มีเป้าหมายในการอ่านในแต่ละเดือน สัปดาห์ วัน หรือแบ่งเป็นช่วงเช้าบ่าย หรือแต่ละชั่วโมง อาจกำหนดเป็นหน้า หรือเป็นวิชา หรือเป็นบทๆ ไปก็ได้ และพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนการทำโน้ทย่อก็ดีนะครับ ก็คือการสรุปอย่างที่ผมบอกข้างตนคือการเล่าให้ตัวเองฟังเป็นตัวหนังสือ(แต่บางทีเราไม่เข้าใจเพราะเพียงแต่จดหัวข้อลงไปในโน้ทเท่านั้น) แต่ถ้าเข้าใจด้วย โน้ทย่อด้วยยิ่งดีใหญ่
เรื่องการถ่างสายตาในการหนังสือก็ลองฝึกดูนะครับเป็นประโยชน์มากๆ เพราะเราต้องอ่านหนังสือเยอะ การอ่านเร็วๆทำให้เห็นภาพรวมได้ทั่วของแต่ละวิชาและสามารถเห็นได้ว่าตรงไหนสำคัญ ตรงไม่สำคัญ เมื่อมาอ่านรอบสองที่ต้องจำแล้วจะทำให้จัดลำดับความสำคัญได้ถูกต้อง

การอ่านหนังสือผมอยากให้เพื่อนๆจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่อ่านนะครับ คือว่า ในการสอบของแต่ละสนามเราจะสอบทั้งหมดแต่ละวันประมาณ ๑๐ วิชา ต้องเอาคะแนะมาเฉลี่ยกัน เกิน ๕๐ เปอร์เซ็น จึงจะผ่าน และคะแนน ที่ ๑-๕ ของแต่ละข้อได้ง่าย แต่คะแนนที่ ๗-๑๐ ได้ยาก ดังนั้นเราจึงควรทำให้ได้ทุกข้อ ดีกว่าเต็มขอหนึ่ง ศูนย์ข้อหนึ่ง

ด้วยเหตุผลข้างต้น ผมจึงอยากแนะนำให้เพื่อนๆ จัดเนื้อหาของแต่ละข้อออกเป็น สามส่วน
ส่วนแรก คือชั้นที่หนึ่ง ที่เป็นเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบบ่อยๆ มีฎีกาข้อกฎหมายเยอะๆ ดูได้จากข้อสอบเก่าๆ ที่แต่งโจทก์แล้วเป็นประเด็นน่าสนใจ
ส่วนสอง คือชั้นที่สอง ที่เป็นเนื้อหาที่ออกข้อสอบบ้างบางครั้ง มีเอามีแต่งบ้าง แต่ก็ไม่บ่อย
ส่วนสาม คือส่วนที่เป็นทฤษฎี ที่แบบว่าถ้าเราอ่านมาไปเล่าให้คนอื่นฟังไม่มีคนรู้เรื่อง แม้แต่อาจารย์ที่สอนเองยังเห็นไม่ตรงกัน

เมื่อเห็นเนื้อหาสามส่วนข้างต้นแล้ว เพื่อนๆหลายคนที่อ่านหนังสือวันละหลายชั่วโมง แต่ไปอ่านส่วนที่สาม ก็จะทำให้สอบไม่ผ่าน เพราะส่วนดังกล่าวไม่ออกข้อสอบ (แม้เวลาคุยกับเพื่อนจะดูเท่ เพราะคนอื่นไม่รู้ เพราะไม่เคยอ่าน) หรือหลายคนที่อ่านทั้งสามส่วนของแต่ละข้อแล้วสอบตก เพราะทำได้แค่บ้างข้อ เนื่องจากอ่านข้ออื่นไม่ทัน
คำแนะนำของผมก็คือ เวลาที่เพื่อนๆอ่านหนังสือให้อ่านส่วนที่หนึ่ง ของแต่ละวิชาให้ครบ สิบข้อก่อน จะทำเราได้ ๑-๔ คะแนนของแต่ละข้อแล้ว(พอมั่วได้แล้ว) และต่อมาให้อ่านส่วนที่สองของแต่ละข้อ จะทำให้ข้อไหนทำได้ก็ ๖-๘ คะแนะ ทำไม่ได้ ก็ ๒-๕ คะแนน แต่เมื่อรวมแล้วก็เกิน ๕๐ คะแนน และเมือเวลาเหลือจริงๆ จึงอ่านส่วนที่สาม เพื่อให้ได้คะแนะเต็มเพื่อบางปีที่ออกข้อสอบบางข้อแหวกแนว
สรุปนะครับทุกสนามต้องการคนที่มีความรู้ผ่านมาตราฐานไม่ได้ต้องคนที่เก่งข้อใดข้อหนึ่ง แม้ได้สิบเต็มแต่รวมข้ออื่นแล้วไม่เกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ผ่านนะครับ 
จึงเห็นควรให้จัดเนื้อหาก่อนแล้วจึงเริ่มอ่านนะครับโดยพยายามอ่านส่วนที่หนึ่ง ครบทุกข้อ แล้วจึงอ่านส่วนที่สองให้ครบ แล้วเวลาเหลือจึงอ่านส่วนที่สาม ต้องพยายามเตือนตัวเองเวลาที่อ่านรอบแรกด้วยนะครับว่าเรากำลังเข้าไปอ่านในส่วนที่สามแล้วหรือไม่
(เพื่อนอย่ากังวลกับข้อสอบเก่าบางปีที่ออกมาตราแปลกๆมา เพราะข้อสอบเหล่านั้นคือฎีกาดังในช่วงนั้นๆและไม่ออกซ้ำในการอ่านหนังสือเอาที่สำคัญๆก่อน ส่วนที่แปลกให้ดูฎีกาหใหม่) หลายคนพยายามอ่านให้หมดทุกเรื่องแล้วทำให้อ่านไม่ทัน 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.netithai.com/index.php?topic=420.0

ย่อตัวบท ข้อ ๘. ครอบครัว - มรดก

    ครอบครัว ( ม.1435 -1598/41 )
ม. 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์ เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้น ให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสด้วย
ม. 1452 ชาย / หญิง จะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสไม่ได้
ม. 1466 สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้น ไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส / มิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรส + พยานอย่างน้อย 2 คน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้
ม. 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส
ม. 1471 สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินที่ (1) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอยู่ก่อนสมรส (2) เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว / เครื่องแต่งกาย / เครื่องประดับ / เครื่องมือเครื่องใช้จำเป็นในการประกอบอาชีพ (3) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดก / การให้โดยเสน่หา (4) เป็นของหมั้น
ม. 1474 สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่ (1) คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส (2) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม / โดยการให้เป็นหนังสือ ระบุว่า เป็นสินสมรส (3) เป็นดอกผลของสินส่วนตัว หากกรณีสงสัยให้ถือว่าเป็นสินสมรส
ม. 1476 สามีและภริยา ต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน / ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย กรณี (1) ขาย จำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (2) ก่อตั้ง / กระทำให้สิ้นสุด ซึ่งทรัพยสิทธิ (3) ให้เช่าอสังหา ฯ เกิน 3 ปี (4) ให้กู้ยืมเงิน (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่ เพื่อการกุศล , การสังคม , ตามหน้าที่ธรรมจรรยา (6) ยอมความ (7) อนุญาโตตุลาการ (8) นำทรัพย์สินไปประกัน
ม. 1498 การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ว. 2 กรณีสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมี / ได้มา ไม่ว่าก่อน / หลังการสมรส รวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นประการอื่น
ม. 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะเป็นคนไร้ความสามารถ / สืบสายโลหิต / ไม่ยินยอม ไม่ทำให้ชาย / หญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิท่ได้มา เพราะการสมรสก่อนมี คำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ
ม. 1501 การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย / การหย่า / ศาลพิพากษาให้ถอน
ม. 1504 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะอายุไม่ถึง 17 ปี ผู้มีส่วนได้เสียขอเพิกถอนได้เว้นแต่บิดามารดาที่ให้ความยินยอม
ว. 2 ถ้าศาลยังมิได้สั่งให้เพิกถอน จนชายหญิงมีอายุครบ / หญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ ให้ถือว่าสมบูรณ์ตั้งแต่สมรส
ม. 1516 เหตุฟ้องหย่า (1) - (10)
ม. 1531 การสมรสที่จดทะเบียน การหย่าโดยความยินยอมมีผลนับแต่จดทะเบียนหย่า , การหย่าโดยคำพิพากษามีผลเมื่อพิพากษา
ม. 1546 เด็กที่เกิดจากหญิง ที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
ม. 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันภายหลัง / บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร / ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ม. 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1547 มีผลนับแต่ (1) วันสมรส กรณีบิดามารดาสมรสกันภายหลัง (2) วันจดทะเบียน กรณีบิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร (3) วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ม. 1558 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตาย ที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก ถ้าศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ในฐานะทายาทโดยธรรม
มรดก ( ม. 1599 - 1755 )
ม. 1599 บุคคลใดตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท
ม. 1600 กองมรดก ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่เป็นการเฉพาะตัว
ม. 1605 ทายาทคนใดยักย้าย / ปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้ / มากกว่า โดยฉ้อฉล ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลย แต่ถ้าน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ต้องถูกกำจัดเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้าย / ปิดบัง
ว. 2 มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม
ม. 1606 บุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
(1) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเจตนา / พยายามกระทำให้เจ้ามรดก / ผู้มีสิทธิได้มรดกก่อนตน ตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ฟ้องเจ้ามรดกหาว่ากระทำความผิดโทษประหารชีวิต และตนกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าฟ้องเท็จ / ทำพยายานเท็จ
(3) รู้ว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้ร้องเรียนเพื่อเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ เว้นแต่อายุยังไม่ครบ 16 ปี , เป็นญาติ
(5) ปลอม / ทำลาย / ปิดบังพินัยกรรม
ว. 2 เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรก็ได้ โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ม. 1607 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัด สืบมรดกต่อได้
ม. 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนมิให้ได้รับมรดกก็ได้ ด้วยการแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้ง
(1) โดยพนัยกรรม
(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ม. 1612 การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ / ทำเป็นสัญญาประนีประนอม
ม. 1615 การที่ทายาทสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
ว. 2 ทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน
ม. 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้ว การคิดส่วนแบ่งและการปันทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นดังนี้
(1) ส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องการหย่าโดยความยินยอม
(2) ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกให้เป็นไปตาม ม. 1637 , 1638
ม. 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว / บุตรบุญธรรม ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ม. 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ เท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดา (4) พี่น้องร่วมบิดา / มารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา
ว. 2 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้ ม. 1635
ม. 1630 ตราบใดทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ / มีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายในลำดับหนึ่ง ๆ ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิ
ว. 2 มิให้ใช้บังคับ กรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิต / มีผู้รับมรดกแทนที่กัน + บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
ม. 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ในการรับมรดกให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม ม. 1629 (1) - ผู้สืบสันดาน คู่สมรสได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน / มีผู้รับมรดกแทนที่ ถ้าไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา คู่สมรสได้กึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดา / ร่วมมารดาเดียวกัน , ลุง ป้า น้า อา / มีผู้รับมรดกแทนที่ , มีปู่ ย่า ตา ยาย คู่สมรสได้ 2/3 ส่วน
(4) ถ้าไม่มีทายาทตาม ม. 1629 เลย คู่สมรสมีสิทธิได้รับทั้งหมด
ม. 1636 ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนใช้ บรรพ 5 หลายคน ทุกคนรวมกันมีสิทธิได้รับตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งตาม ม.1635 แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อยได้กึ่งส่วนที่ภริยาหลวงได้รับ
ม.1639 ถ้าบุคคลซึ่งจะเป็นทายาทตาม ม.1629 (1) , (3) , (4) , (6) ถึงแก่ความตาย / ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นรับมรดกแทนที่ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นตาย / ถูกกำจัด เช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้รับแทนที่เฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลนั้นเป็นรายๆไป
ม. 1696 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันถูกเพิกถอนไป รวมถึงผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สินนั้นด้วยความตั้งใจ
ม. 1697 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น และปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับพินัยกรรมฉบับหลังขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันถูกเพิกถอนโดยฉบับหลัง เฉพาะส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้น
ม. 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นย่อมตกไปเมื่อ (1) ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม (2) ข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ และผู้รับพินัยกรรมตายก่อนเงื่อนไขสำเร็จ / เป็นที่แน่นอนว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ (3) ผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม (4) ทรัพย์สินที่ยกให้สูญหาย / ถูกทำลาย โดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิวตอยู่ และมิได้ของกลับมาแทน / สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทน

*** มาตราไหน แก้ไข ปรับปรุงต่อด้วยนะ ***

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.lawsiam.com/?name=webboard&file=read&id=1141

การโอนตั๋วกรณีตั๋ว "ห้ามเปลี่ยนมือ" (A/C payee only) ม.๙๑๗

    มาตรา 917 อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ
เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดั่งนี้ก็ดีหรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ

อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋วนั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายใดแห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีกได้

อธิบาย วรรคแรก หมายความว่า ตั๋วแลกเงินระบุชื่อทุกฉบับ ถ้าผู้ทรงประสงค์จะโอนต่อไป ย่อมทำได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ หรือ แม้จะมิได้มีข้อความว่าจ่ายตามคำสั่งของผู้รับเงินก็สามารถโอนได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบเช่นกัน

วรรคสอง หากผู้สั่งจ่ายเขียนด้านหน้าตั๋วว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือถ้อยความทำนองเดียวกันนั้น เช่น ห้ามเปลี่ยนมือ หรือ A/C Payee only มีความหมายว่า ตั๋วฉบับนี้ไม่สามารถโอนได้ด้วยวิธีการอย่างตั๋วเงิน ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีชื่อผู้รับเงินเท่านั้น หากผู้รับเงินต้องการโอนต้องโอนอย่างการโอนหนี้สามัญ (การโอนสิทธิเรียกร้อง) ตามวิธีการในมาตรา 306

มาตรา 306 การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ

ในวรรคท้าย ตั๋วเงินนั้นอาจจะถูกสลักหลังกลับมาสู่คู่สัญญาคนก่อนได้ เช่น



เช่นนี้ หนึ่งผู้ทรง ไม่สามารถไล่เบี้ยเอากับสี่ สาม สองได้ แต่หนึ่ง ไล่กับ ขาว และ ดำได้ เพราะสี่ สาม สอง เป็นบุคคลซึ่งหนึ่งต้องรับผิดกับเขาอยู่ก่อนแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://natjar2001law.blogspot.com/2011/05/ac-payee-only.html


กฎหมายเรื่องข่มขืนตามที่แก้ไขใหม่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276


    เดิมนั้นการข่มขืนตามกฎหมายหมายถึงชายข่มขืนหญิงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน กฎหมายเปลี่ยนไปแล้ว คือ ชายข่มขืนหญิง หญิงข่มขืนชายก็ได้ ชายข่มขืนชายก็ได้ด้วย ถ้าหากสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอวัยวะเพศ

มาตรา 276 เดิม บัญญัติดังนี้

     ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภริยาตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้  หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

     ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกกระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี  และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

     Section 276  whoever has sexual intercourse with other woman which is not nis wife, being in the condition of inability to resist, by committing and act of violence of by causing the woman to mistake him for the other person shall be punished with imprisonment of four to twenty years and five eight thousand to forty thousand bath.

     If the offence according to the first paragraph has been committed by carrying or using any gun or explosive or by participation of person in the nature of gang raping a girl, the offender shall be punished with imprisonment of fifteen to twenty years and fine of thirty thousand to forty thousand bath of imprisonment for life

     มาตรา 276  ที่แก้ไขใหม่

      ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย  โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้นั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

     whoever has sexual intercourse with ofher person, being in the condition of inability to resist, by committing any act of violence or by making such another person misunderstand himself of herself as another person, shall be punished with imprisonment of four to twenty years and fined eight thousand to forty thousand bath

     การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำความผิดโดยใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น

     The sexual intercourse according to the first paragraph means committing fo doer's sexual desire by using doe's sexual organ, for committing other person's sexual organ,anus or oral cavity, or using any things for committing against other person's sexual organ or anus

     ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทหรือจำคุกตลอดชีวิต

    If the offence according to the first paragraph has been committed by carrying of using any gun of explosive or by participation of person in the nature of gang raping a girl of a boy inte same matter, the offender shall be punished with imprisonment fo fifteen to twenty years and fine of thirty  thousand to forty thousand bath or imprisonment for life

     If the offence according to the first paragraph has been committed between spouses and the spouses desire t cohabit. the court may punish by the punishment ligher than described in the law as it may be considerd of determine some conditions for case of punishment accrording to the judgement provided by the court and any party of the spouses does not desire to cohabit any more and desre to divorce, that party shall inform the court and the court shall inform the public prosecuter to proceed with suing for divorce for them

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=323935

การฟ้องศาลในคดีอาญา

    คดีอาญาจะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ คดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้ และคดี
อาญาที่ยอมความได้ การฟ้องร้องต่อศาลในคดีอาญาทั้งสองมีลักษณะในการดำเนินการ แตกต่างกัน
ในบางขั้นตอน ซึ่งจะแยกการฟ้องศาลของคดีอาญาทั้งสองลักษณะดังนี้
คดีอาญาแผ่นดิน
เมื่อเกิดอาญาแผ่นดินขึ้น เช่น มีการฆ่ากันตาย มีการปล้นทรัยพ์เกิดขึ้นในท้องที่ใด หากมีผู้
ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ทางผู้ใหญ่บ้าน กำนันก็จะรีบไปแจ้งความกับ
เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกทีหนึ่ง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาตาม
กฎหมาย
ถ้าไม่สะดวกในการไปแจ้งความต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรืออาจจะทำให้การดำเนินการจับกุม
คนร้ายไม่ทันเหตุการณ์ จะต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรงเป็นดีที่สุด การแจ้งความในคดี
อาญาแผ่นดินกระทำไดหลายทาง คือ
1. โทรศัพท์แจ้งความจะเป็นการสะดวกรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ได้ดีที่สุด ซึ่งการแจ้งความ
ทางโทรศัพท์ต้องแจ้งรายละเอียดในลักษณะของคดีอาญาที่เกิดขึ้น และบอกถึงสถานที่เกิดเหตุให้
ชัดเจน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้มาตรวจสถานที่เกิดเหตุได้ทันท่วงทีในสถานที่เกิดเหตุ สิ่งที่กระทำได้
ทันทีของผู้แจ้ง หรือผู้เห็นเหตุการณ์ ได้แก่ การนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ช่วยกันทำการดับไฟ
ส่วนเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดจากคดีอาญาไม่ควรเข้าไปจับต้อง เช่น อาวุธปืนในที่เกิดเหตุ ข้าวของที่ล้ม
กระจัดกระจายอยู่ การเคลื่อนย้ายศพ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจสอบสถาน
ที่เกิดเหตุก่อนจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเป็นอย่างยิ่ง และการแจ้งความคดีอาญาจะต้องแจ้งความต่อ
สถานีตำรวจในเขตท้องที่ที่เกิดเหตุ เราอยู่ท้องที่ใดควรจะได้ทราบเบอร์โทรศัพท์ของสถานีตำรวจใน
ท้องที่เอาไว้ เพื่อความสะดวกต่อการแจ้งเหตุ
2. แจ้งความด้วยตนเอง คือ ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากคดีอาญาอาจจะเป็นผู้ประสบเหตุการณ์เอง
หรือญาติไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรง ซึ่งการไปแจ้งความด้วยตนเองควรจะไปแจ้งความ
ต่อหน่วยบริการตำรวจ ซึ่งอาจจะเป็นป้อมยาม สายตรวจก็ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นการสะดวกกว่าที่จะไปแจ้ง
ความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุโดยตรง
3. ข่าวจากสื่อสารมวลชน ในคดีอาญาแผ่นดินถือได้ว่าเป็นการแจ้งความ อย่างหนึ่ง เพราะคดีอาญา
บางอย่างทางผู้เสียหายต้องการจะปิดไว้เพื่อการต่อรองกับคนร้าย เช่น การจับตัวไปเรียกค่าไถ่ ความผิด
อาญาในลักษณะเช่นนี้ แม้จะไม่มีผู้ใดแจ้งความทั้งทางโทรศัพท์และแจ้งความด้วยตนเอง แต่เมื่อข่าว
เกิดแพร่ไปสู่สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุก็จะต้องดำเนินการสืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง
คดีอาญาแผ่นดิน เมื่อมีผู้แจ้งความไม่ว่าจะทางใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหน้าที่ดำเนินการ
สืบสวนสอบสวน เพื่อหาพยานหลักฐานในการจับกุมคนร้าย และเมื่อทำการจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุได้
แล้ว จะทำการสอบสวนและหาพยานหลักฐาน เพื่อส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ถูก กล่าวหาไป
ยังอัยการ เพื่อพิจารณาสั่งฟ้องศาลหรือสั่งไม่ฟ้องศาลอาญาต่อไป แม้เพียงแต่ทราบข่าวโดยไม่มีผู้แจ้ง
ในความผิดอาญาแผ่นดินทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินการสืบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการ ต่อไป

คดีอาญาที่ยอมความได้ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นคดีความผิดส่วนตัว คดีเหล่านี้คงจะทราบกัน
มาแล้ว เช่น ยักยอกทรัพย์ ข่มขืนหญิงอายุเกิน 15 ปี คดีเหล่านี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวกัน อย่าง
คดียักยอกทรัพย์ เจ้าของทรัพย์และผู้ยักยอกอาจจะตกลงกันได้ ให้ผู้ยักยอกนำเอาทรัพย์ที่ยักยอก
มาคืนและอาจจะเรียกค่าเสียหายจากการกระทำนั้น เมื่อตกลงกันได้ก็ไม่ต้องเกิดคดี
คดีอาญาที่ยอมความได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินคดีได้ เจ้าทุกข์หรือผู้เสียหายจะต้องแจ้งความ
ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแจ้งเรื่องต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยดำเนินการแจ้งความต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตัวอย่าง ถ้าเกิดคดีเช่นนี้ ตำรวจจะมีสิทธิจับกุมผู้กระทำผิดหรือไม่ เมื่อเจ้าทุกข์ไม่ดำเนินการแจ้ง
ความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นายหล่อ อายุ 18 ปี ได้หลอกพานางสาวสวย อายุ 16 ปี ไปดูหนังที่งานวัดแห่งหนึ่ง หลังจากหนังเลิก
ได้พานางสาวสวยไปบ้านตนเองและใช้กำลังปลุกปล้ำข่มขืนนางสาวสวยหลายครั้ง รุ่งเช้าจึงพานางสาว
สวยไปส่งบ้าน พ่อแม่นางสาวสวยสอบถามถึงเหตุการณ์ นายหล่อได้สารภาพความผิดที่ตนเองได้ก่อขึ้นต่อ
นางสาวสวย แต่พ่อแม่ของนางสาวสวยมิได้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข่าวที่นายหล่อข่มขืนนางสาวสวย
ได้ล่วงรู้ไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการอย่างไร
เรื่องนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจคงดำเนินการใด ๆ ไม่ได้ เนื่องจากนายหล่อข่มขืนนางสาวสวยซึ่งมีอายุเกิน 15 ปี
แล้ว ไม่ได้ทำการข่มขืนต่อหน้าคนอื่น เป็นความผิดทางอาญาที่ยอมความกันได้ กฎหมายกำหนดไว้ความผิด
ทางอาญาที่ยอมความได้ เมื่อเจ้าทุกข์ไม่แจ้งความเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการคดีไม่ได้
ความผิดทางอาญาที่ยอมความกันได้ ผู้เสียหายจะต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้จับกุมผู้กระทำ
ผิด การที่เจ้าหน้าที่ทราบเรื่องการกระทำความผิดเองยังไม่สามารถดำเนินการ จับกุมได้ เช่น ทราบว่านาย ก.
บุกรุกที่ของนาย ข. หรือนายไก่ ขอยืมสร้อยคอทองคำของนายนกไปใส่แล้วนำไปขาย ซึ่งเป็นการยักยอก
ทรัพย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมได้ต่อเมื่อนาย ข. ต้องไปแจ้งความก่อนว่านาย ก. บุกรุกที่ของตน
หรือนายนกต้องไปแจ้งความก่อนว่านายไก่ยักยอกสร้อยคอของตนไปขาย การดำเนินคดีอาญาที่ยอมความได้
สามารถดำเนินคดีได้ดังนี้
1. ผู้เสียหายแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งความผิดคดีอาญาที่ยอมความได้ หรือความผิดส่วนตัว
ผู้เสียหายมักจะทราบผู้กระทำความผิด การไปแจ้งความซึ่งสามารถบอกตัวผู้กระทำความผิดได้ เพื่อให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวมาดำเนินคดีได้
2. ในระหว่างการดำเนินคดีได้ ไม่ว่าจะเป็นขั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือชั้นส่งฟ้องศาล
ถ้าผู้เสียหายและผู้กระทำผิดสามารถตกลงยอมความกันได้ การดำเนินคดีเป็นอันสิ้นสุดในชั้นสอบสวน
เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ต้องดำเนินการสอบสวน ปิดสำนวนการสอบสวนได้เลย ในชั้นส่งฟ้องศาลก็ปิดคดีได้
3. แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ตกลงยอมความกับผู้กระทำผิด ยืนยันที่จะดำเนินคดีจนถึงที่สุด การดำเนินคดี
ก็คงดำเนินไปเช่นเดียวกับความผิดในคดีอาญาแผ่นดิน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42020/Cepter4-1.htm