ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายตราสามดวง

กฎหมายตราสามดวง 

คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่า ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อ จุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง
กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุด 1 เล่ม

กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในระยะแรกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้นก็คือกฎหมายที่ใช้อยู่เมื่อครั้ง กรุงศรีอยุธยา โดยอาศัยความจำ และการคัดลอกมาตามเอกสารที่หลงเหลือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงทำการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ โดยอาศัยมูลอำนาจอธิปไตยของ พระองค์เองบ้าง อาศัยหลักฐานที่ได้จากการสืบสวน ฟังคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บ้างจนกระทั่งได้เกิดคดีขึ้นคดีหนึ่งและมีการทูลเกล้าฯถวายฎีกา คดีที่เกิดขึ้นนี้แม้เป็นคดีฟ้องหย่าของชาวบ้านธรรมดา แต่ที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์กฎหมาย ก็คือผลจากคดีนี้เป็นต้นเหตุให้นำมา ซึ่งการชำระสะสางกฎหมายในสมัยนั้น เป็นคดีที่อำแดงป้อม ฟ้องหย่านายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ทั้งๆ ที่ตนได้ทำชู้ กับ นายราชาอรรถ และศาลได้พิพากษาให้หย่าได้ตามที่อำแดงป้อมฟ้อง โดยอาศัยการพิจารณาคดีตามบทกฎหมาย ที่มีความว่า “ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้”
เมื่อผลของคดีเป็นเช่นนี้ นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกา ต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้น ขัดหลักความยุติธรรม ทรงสงสัยว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะถูกต้องตรงตามตัวฉบับกฎหมายหรือไม่ จึงมีพระบรมราชโองการ ให้เทียบกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ศาลใช้กับฉบับที่หอหลวงและที่ห้องเครื่อง แต่ก็ปรากฏ ข้อความที่ตรงกัน เมื่อเป็นดังนี้ จึงทรงมีพระราชดำริว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสม อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการคัดลอก สมควรที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายใหม่ เหมือนการสังคายนา พระไตรปิฎกจากคดีอำแดงป้อมดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นหลักกฎหมายสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายที่ว่าแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามไม่มีพระราชอำนาจที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎหมาย ตามอำเภอใจ
ในคดีนี้แม้จะทรงเห็นว่าคำตัดสินนั้นไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม อันอาจเนื่องมาจากการคัดลอกกฎหมายมาผิด ก็ชอบที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายให้กลับไปสู่ความถูกต้องเหมือนการสังคายนาพระไตรปิฎก ดังพระราชปรารภที่ว่า “ให้กรรมการชำระพระราชกำหนดบทพระอายการ อันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ไปให้ถูกถ้วน ตามบาฬีและเนื้อความ มิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกัน ได้จัดเป็นหมวด เป็นเหล่าเข้าไว้ แล้วทรงอุตสาห ทรงชำระดัดแปลง ซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้”

คุ้มของเก่า กฎหมายตราสามดวง  รายการคุณพระช่วย


ความสำคัญของกฎหมายตราสามดวง

  • กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะเป็นกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) กล่าวคือ กฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของกฎหมายตราสามดวงโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระธรรมศาสตร์ ที่มีลักษณะทั่วไปและมีฐานะสูงกว่าจารีตประเพณี มีการจัดระบบกฎหมายที่เป็นระบบและมีการใช้เหตุผลของนักกฎหมายปรุงแต่ง
  • กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะที่เป็นกฎหมายธรรมชาติ ทุกคนแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
  • ไม่มีการบัญญัติโดยแท้ บทกฎหมายใหม่นี้จึงเป็นผลงานของ นักกฎหมาย อันได้แก่ ศาลและพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นนักกฎหมายด้วย ไม่ใช่กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค โดยกระบวนการนิติบัญญัติอย่างปัจจุบัน
  • มีความนับถือตัวบทกฎหมาย เชื่อว่าไม่มีใครสามารถแก้กฎหมายได้เพราะกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่คนสร้างขึ้น แม้แต่กษัตริย์ก็แก้ไม่ได้ หากเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสมจะใช้การชำระสะสางไม่ใช่ยกร่างขึ้นใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม
  • ไม่ใช่ประมวลกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านเพราะเป็นที่รวมของบทกฎหมายที่ปรุงแต่งโดยนักกฎหมายและจารีตประเพณีที่สำคัญเท่านั้น การเรียกว่าประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้นเป็นเพียงการใช้คำว่าประมวลเพื่อยกย่องเท่านั้น
  • เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นคู่มือในการชี้ขาดตัดสินคดีเพราะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพิพากษาคดี และใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นหลัก ไม่ใช่กฎหมายที่เขียนขึ้นในลักษณะตำรากฎหมาย

ลำดับความเป็นมาของกฎหมายไทย โดย นาย กิตติศักดิ์ ปลอดภัย

ลำดับความเป็นมาของกฎหมายไทย โดย นาย กิตติศักดิ์ ปลอดภัย
กฎหมายไทย
กฎหมาย คือ บรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล อันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ ในทางอาญาอาจจะมีโทษปรับเป็นเงินหรือโทษจำคุก ในทางแพ่งอาจจะถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหาย
ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดเดิม
1.กฎหมาย  คือ  คำบัญชาของผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
2.กฎหมาย  คือ  คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามก็จะต้องถูกลงโทษ
ความหมายของกฎหมายตามแนวความคิดใหม่
1.กฎหมาย คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นสากลและพบเห็นได้ในทุกสังคม
2.กฎหมาย คือ ระบบที่มีอำนาจโดยชอบธรรมซึ่งมีการรับรองไว้แล้ว
3.กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์สูงสุดของสังคมและเป็นตัวควบคุมกฎเกณฑ์อื่น ๆ
4.กฎหมาย คือ ระบบกฎเกณฑ์ที่มีการจัดทำ การตีความ และการใช้บังคับเป็นกิจจ ลักษณะตลอดจนมีวัตถุประสงค์ของโครงสร้างหลักเกณฑ์ เจ้าหน้าที่และกระบวนการอันคำนึงถึงความสงบเรียบร้อย และความคิดเรื่องความยุติธรรม
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
1.กฎหมายจะต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์
หมายความว่า  ผู้บัญญัติกฎหมายต้องมีอำนาจในรัฐ   จะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์
หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือรัฐสภาที่มีอำนาจเด็ดขาดที่จะออกกฎหมายมาบังคับได้    และรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องเป็นเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ไม่เป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นของประเทศอื่นใด
2.กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป
หมายความว่า  กฎหมายจะต้องใช้บังคับได้ทุกสถานที่และแก่บุคคลทุกคนโดยเสมอภาค
            3.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า   เมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมายเรื่องใดฉบับใดแล้ว  กฎหมายนั้นก็จะใช้ได้ตลอดไป จะเก่าหรือล้าสมัยอย่างไรก็ใช้บังคับได้อยู่   จนกว่าจะได้มีการประกาศยกเลิก เช่น พระราชบัญญัติตามช้างรัตนโกสินทรศก 127 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่
4.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่า  กฎหมายทุกฉบับประชาชนต้องปฏิบัติตาม  จะขัดกับผลประโยชน์ของตนอย่างไรหรือไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร ชายไทยอายุย่างเข้า 21 ปี ใน พ.ศ. ใดต้องตรวจเข้ารับราชการทหาร เป็นต้น บุคคลที่ถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติจะปฏิเสธไม่ได้
              5.กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ หมายความว่า ผู้กระทำหรืองดเว้นกระทำตามที่กฎหมายกำหนดต้องถูกลงโทษ เช่น กฎหมายกำหนดผู้มีรายได้ต้องเสียภาษี ผู้นั้นต้องรับโทษปรับหรือถูกยึดทรัพย์สินมาขายหรือชำระค่าภาษี เป็นต้น

ที่มาของกฎหมาย
                1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติตามแบบพิธีและขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศให้ประชาชนทราบ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น กฎหมายของไทยส่วนใหญ่ที่ศาลหรือผู้ใช้นำมาปรับแก่คดีคือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ
                2. กฎหมายจารีตประเพณี คือ กฎหมายที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนได้ประพฤติตามแบบอย่างกันมาเป็นเวลาช้านานโดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง และรัฐใช้ข้อปฏิบัติเหล่านี้เสมือนกฎหมายอย่างหนึ่ง โดยมีศาลยุติธรรมรับรองกฎหมายจารีตประเพณี
                3. หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป   ของกฎหมายที่ยึดหลักความเป็นธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยศาลยุติธรรมเป็นผู้รับรองหลักกฎหมายว่ามีฐานะเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ได้

ประเภทและลำดับชั้นของกฎหมาย
             ประเภทของกฎหมาย กฎหมายมี 3 ประเภทคือ
1.กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ได้แก่ ราษฎรทั่วไปใน
ฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือกว่าราษฎร กฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
2.กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ในฐานะเท่าเทียมกัน
กฎหมายเอกชนได้แก่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์
3.กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่กำหนดตามความเกี่ยวพันระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐ
ต่อรัฐแบ่งออกเป็น 3 แผนก คือ
3.1    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
3.2    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3.3    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

ลำดับชั้นของกฎหมาย
1.กฎหมายรัฐธรรมนูญ
คือ   กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ     ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐ
หรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
2.พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญ
ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เป็นต้น
3.ประมวลกฎหมาย
คือ     กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัติหรือตราขึ้นโดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่
เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่ วางหลักเกณฑ์ให้อยู่ในที่เดียวกันและมีข้อความเกี่ยวเนื่องติดต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต้น
ประมวลกฎหมายมีฐานะเท่าเทียมกับพระราชบัญญัติ        
4.พระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้
กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็ตกไป แต่ถ้าไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น การประกาศใช้พระราชกำหนดให้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ
        5.พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ)คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
            6. กฎกระทรวงคือ    กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอันเป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ กฎกระทรวงจึงเป็นกฎหมายบริวารที่กำหนดรายละเอียดของกฎหมายแม่บทอีกต่อหนึ่ง กฎกระทรวงจะออกมาขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก กฎกระทรวงนั้นถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย คณะรัฐมนตรีเป็นอนุมัติกฎกระทรวง การประกาศใช้กฎกระทรวงให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7.       ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง
คือ    กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติราชการ
ภายในและการที่จะนำกฎหมายปลีกย่อยเหล่านี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าในกฎหมายไม่ได้กำหนดเช่นนั้นก็อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจว่าการจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ ซึ่งประกาศ ระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งเหล่านั้นก็เป็นกฎหมายได้เช่นกัน
8.       กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
ได้แก่   ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  ข้อบัญญัติเมืองพัทยา  ข้อบัญญัติจังหวัด  เทศบัญญัติ  และข้อบังคับ
สุขาภิบาล เป็นกฎหมายที่มีพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรปกครองตนเองอันเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีอำนาจออกกฎหมายบังคับใช้เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น
1. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มี 5 ประเภท
1.กฎหมายต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์
2.กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ทั่วไป
3.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
4.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
5.กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
2. ที่มาของกฎหมายไทย ได้แก่
1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร
2.กฎหมายจารีตประเพณี
3.กฎหมายทั่วไป
4.ประเภทของกฎหมาย ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง และกฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองตนเอง

สรุป
    นับได้ว่ากฎหมายไทยมีความเป็นมาที่ยาวนานมาก เพราะกฎหมายหรือข้อบังคับนั้นมีมาก่อนประวัติศาสตร์ แต่เราเริ่มรู้จักกฎหมายจากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งซึ่งได้จัดแบ่งไว้4หมวด และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่มีการจารึกไว้และถ้าพูดถึงความสำคัญการที่ประเทศไทยมีกฎหมายไว้เพื่อที่จะปกครองประเทศนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากถ้าไม่มีกฎหมายไม่รูว่าประเทศไทยในวันนี้จะเป็นไปในทิศทางใด


ที่มา ข้อมูล.[ออนไลน์].http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2006

พื้นฐานที่ควรรู้

สิทธิตามกฎหมายข้อมูลข่าวสาร

1. กฎหมายกำหนดให้สิทธิอะไรบ้างแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ ?
      พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดสิทธิสำคัญ ๆ แก่ประชาชนดังนี้
         1. สิทธิ "ได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ" พระราชบัญญัติได้รองรับสิทธิไว้ในมาตรา 7 มาตรา 9 มาตรา 11 และมาตรา 26
         2. สิทธิ "คัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารกรณีมีส่วนได้เสีย" ตามมาตรา 17
         3. สิทธิ "ร้องเรียนหน่วยงานของรัฐ" ตามมาตรา 13
         4. สิทธิ "อุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ" ตามมาตรา 18 และมาตรา 25
         5. สิทธิ "อุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ" ตามมาตรา 18 และมาตรา 25
2. หากประชาชนไม่รู้ว่าหน่วยงานของรัฐแห่งใด เป็นผู้จัดเก็บ หรือ ครอบครองข้อมูลข่าวสารที่ต้องการดู ประชาชนจะทำอย่างไร?
          ในกรณีที่ประชาชนต้องการทราบข้อมูลข่าวสารของราชการเรื่องหนึ่ง เรื่องใด ให้ศึกษา และ พิจารณาก่อนว่าข้อ มูลข่าวสารที่ต้องการทราบนั้น เกี่ยวข้อง และ อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งใด แต่ในกรณีที่ไม่ทราบจริงๆ ว่า หน่วยงานของรัฐแห่งใดเป็นผู้ครอบครองข้อมูลข่าวสารนั้น ให้ไปยื่นคำขอดูข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ ณ หน่วยงานของรัฐที่อยู่ ใกล้และสะดวกที่สุดโดยกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับคำขอจะต้องให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เพื่อไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมข้อมูลข่าวสารนั้นโดยไม่ชักช้า
3. หากหน่วยงานของรัฐไม่พิจารณาคำขอข้อมูลข่าวสาร ประชาชนจะทำอย่างไร ?
          ในกรณีที่ประชาชนได้ไปใช้สิทธิขอดูข้อมูลข่าวสารที่ต้องการจากหน่วยงานของรัฐแห่งใดแล้ว หน่วยงานของ รัฐแห่งนั้น ยังทำเพิกเฉยไม่พิจารณาคำขอในเวลาอันสมควร ประชาชนควรปฏิบัติดังนี้
          1. ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยทำหนังสือหรือโดยวาจา ขอทราบผลการพิจารณา โดยยกสิทธิรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ขึ้นอ้างและให้เวลาพอสมควรในการพิจารณาแก่เจ้าหน้า ที่ผู้รับผิดชอบ
          2. ติดตามทวงถามผลการพิจารณา เมื่อครบกำหนดเวลาอันสมควรตามข้อ 1 หากพบว่า เป็นปัญหาระดับเจ้า หน้าที่ ให้ขอพบผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น เพื่อเร่งรัดการพิจารณา และแก้ไขปัญหาในระดับ หน่วยงาน
          3. หากดำเนินกิจการตาม 1 และ 2 ยังไม่บังเกิดผล ให้ใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ ราชการ โดยทำเป็นหนังสือถึง
4. หากประชาชนทราบว่า ตนเองมีส่วนได้เสียในข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่มีผู้อื่นมาขอใช้สิทธิตรวจดูข้อมูลข่าวสารนั้น จะทำอย่างไรเพื่อมิให้การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ?
          ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากผู้ใดทราบว่า การที่หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดอันกระทบถึงประโยชน์ได้ เสียของตนเอง ก็อาจยื่นคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน ในการนี้ เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำขอของผู้ขอดูข้อมูล และ คำคัดค้านของผู้ที่มีส่วนได้เสียประกอบกัน ถ้าเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่รับฟัง คำคัดค้าน ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คำสั่ง (มาตรา 18) ในการนี้เจ้าหน้าที่จะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นยังมิได้ จนกว่าจะล่วงพ้นระยะเวลาให้อุทธรณ์ได้ ดังกล่าว เพื่อจะได้ทราบว่าผู้นั้นได้ยื่นอุทธรณ์หรือไม่ และ หากมีการยื่นอุทธรณ์ ก็จะยังเปิดเผยไม่ได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุท ธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (มาตรา 17 วรรคสาม)
5. สิทธิในการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ ประชาชนผู้ขอจำเป็นต้องมีส่วนได้เสียในข้อมูลข่าวสารนั้นด้วยหรือไม่? เพราะเหตุใด?
          บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของทางราชการนี้ อย่างไรก็ ตาม สิทธิได้รู้นี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของการจัดการปกครองในรัฐ สิทธินี้จึงเป็นของคนไทยโดยเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวหากจะมีก็จะอยู่ในเรื่องการปกป้องสิทธิของตนเท่านั้นมาตรา 9 วรรคสี่ ซึ่งวางหลักว่า คนต่างด้าวจะมีสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูล ข่าวสารตามมาตรา 9 ได้หรือไม่ เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่คนต่างด้าวนี้ไม่รวมถึงผู้ไม่มีสัญชาติ ไทย แต่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ (มาตรา 4 นิยามคำว่า "คนต่างด้าว") เพราะกรณีนั้น ผู้นั้นมีถิ่นที่อยู่ถาวรใน ประเทศไทยแล้ว สมควรมีสิทธิอย่างคนไทยในเรื่องข้อมูลข่าวสารของราชการได้
6. ประชาชนจะใช้สิทธิร้องเรียนหน่วยงานของรัฐได้ในกรณีใดบ้าง?
         ประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนได ้ต่อเมื่อเห็นว่า หน่วยงานของรัฐมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ใน กรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
          1. กรณีไม่นำข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
          2. กรณีไม่จัดข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ให้ประชาชนตรวจดูได้
          3. กรณีไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ให้ประชาชนตรวจดูได้
          4. กรณีไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้องหรือไม่ส่งคำขอให้หน่วยงานผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารพิจารณาตาม มาตรา 12
          5. กรณีไม่แจ้งให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียเสนอคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 17
          6. กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา 23
          7. กรณีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยปราศจากความยินยอม เป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูล ตามมาตรา 24
          8. กรณีกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 25 (ยกเว้น เป็นกรณี ตามมาตรา 25 วรรคสี่)
          9. กรณีไม่ส่งมอบข้อมูลข่าวสารประวัติศาสตร์ให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้น คว้า ตามมาตรา 26
          10. กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือไม่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 13
          11. กรณีไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิรู้ข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามมาตรา 13
          12. กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่า ไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ร้องขอ และ ผู้ร้องขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง (ตามมาตรา 33)
7. ประชาชนจะร้องเรียนหน่วยงานของรัฐได้อย่างไร และร้องเรียนกับใคร?
                   ประชาชนมีสิทธิยื่นคำร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
         กฎหมายไม่ได้ระบุว่าให้ร้องเรียนด้วยวิธีใด ประชาชนอาจไปร้องเรียนด้วยตนเอง ณ สำนักงานคณะกรรมการ ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยให้เจ้าหน้าที่จดบันทึกไว้ให้หรือส่งทางไปรษณีย์ ถึงประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราช การ หรือร้องเรียนด้วยวิธีการอื่น
การเขียนคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการ
          ประชาชนจะใช้สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการได้ โดยต้องยื่นคำขอ แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าคำ ขอนั้น ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม การเขียนคำขอก็เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และทำให้มีหลักฐาน ชัดเจนทั้งผู้ขอและส่วนราชการ ในกรณีที่ต้องการเขียนคำขอควรเขียนให้ถูกต้องครบถ้วนในรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ขอข้อมูล และรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ขอให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การขอดูเอกสารสัญญาขององค์การบริหารส่วนตำบล ควรระบุว่าสัญญาเรื่องอะไร ทำสัญญาเมื่อวันที่เท่าใด หรือ การขอรายงานการประชุมของ อบต. ควรเขียนให้ชัดเจนว่า เป็น รายงานการประชุมเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือเป็นการประชุมของกรรมการชุดใด และเป็นการประชุมครั้งที่เท่าใด เป็นต้น
วิธีการเขียนคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการ
1. รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ขอข้อมูล มีดังนี้
      - ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ ได้สะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
      - วันที่ยื่นคำขอ    
2. รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ขอ มีดังนี้
      - ขอเอกสารหรือแฟ้ม หากไม่ทราบให้ระบุชื่อ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลพอเข้าใจได้
      - ระบุวิธีการที่ต้องการได้ข้อมูล เช่น ต้องการดู ต้องการสำเนา ต้องการสำเนาที่มีการรับรองความถูกต้อง
3. ระบุเหตุผลที่ขอข้อมูล (กฎหมายมิได้กำหนดว่า ผู้ขอข้อมูลต้องแสดงเหตุผลประกอบการขอข้อมูลข่าวสาร แต่หากผู้ขอระบุเหตุผลไว้ในคำขอก็จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะได้นำไปใช้ประกอบการใช้ดุลยพินิจในกรณีที่อาจ จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักเหตุผลระหว่างประโยชน์ของราชการกับประโยชนน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง หรือ ผู้ขอว่าสมควรจะให้ข้อ มูลแก่ผู้ขอหรือไม่
                     การร้องเรียน
          เมื่อหน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (มาตรา 13 และมาตรา 33) ประชาชนมีสิทธิยื่นคำร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมี ขั้นตอนและวิธีการร้องเรียน ดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการร้องเรียน
      1) พิจารณาว่าพฤติการณ์หรือการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐมีลักษณะดังกล่าวไว้ในหัวข้อที่ 6
      2) ยื่นหนังสือร้องเรียนด้วยตนเอง หรือ มอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นแทนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ ราชการได้ทันที โดยยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ จะส่ง หนังสือร้องเรียนทางไปรษณีย์ก็ได้
      3) รอฝังผลการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
2. ข้อความที่ควรระบุในหนังสือร้องเรียน
      1) รายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ร้องเรียนประกอบด้วย
           - ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
           - วันที่ยื่นคำร้องเรียน
      2) รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
           - ชื่อหน่วยงาน
           - ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
      3) เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
       หากมีเอกสารประกอบ เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือ หนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่ง หากผู้ร้องจะแนบไปด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการ ฯ ซึ่งจะได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียน นั้น ๆ ต่อไป
3. ข้อแนะนำในการเขียนหนังสือร้องเรียน
       1) ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ
       2) ระบุข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยว ข้องให้ชัดเจน
       3) พยายามหลีกเลี่ยงการร้องเรียนที่ใช้ถ้อยคำเสียดสี ดูหมิ่น หรือพาดพิงไปถึงบุคคลอื่น
       4) ถ้ามีข้อขัดข้องในการเขียนหนังสือร้องเรียน สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานคณะ กรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 4 ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ 10300
8. ประชาชนจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการในกรณีใดได้บ้าง?
การอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ประชาชนจะสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้ 3 กรณีคือ
      1) กรณีหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ได้มีคำขอ
      2) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งบุคคลผู้คัดค้านทราบว่า ตนมี ประโยชน์ได้เสีย และ ผู้มีประโยชน์ได้เสียนั้น ได้เสนอคำคัดค้านพร้อมเหตุผลประกอบเพื่อให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูล ดังกล่าวแล้ว
      3) กรณีหน่วยงานของรัฐไม่ยินยอมแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามคำขอ เมื่อบุคคลใดเห็นว่า ข้อมูลข่าว สารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดเก็บไว้ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง และ ได้ยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงาน ของรัฐเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้อง
       ทั้ง 3 กรณีดังกล่าว ประชาชนมีสิทธิยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อพิจาร
ณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
9. ประชาชนจะอุทธรณ์ได้อย่างไร และอุทธรณ์ต่อใคร?
           ประชาชนมีสิทธิยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อพิจารณาส่งเรื่องให้คณะกรรม การวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้น ดำเนินการพิจารณา วินิจฉัย โดยมีขั้นตอนและวิธีการอุทธรณ์ดังนี้
           1) พิจารณาว่าหน่วยงานของรัฐได้กระทำหรือปฏิบัติตาม คำถามข้อ 8 แล้วหรือไม่
           2) ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยผ่านคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ของราชการ โดยยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรืออาจส่งหนัง สืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ก็ได้
           3) รอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน เวลา 60 วัน
        ข้อความที่ควรระบุในหนังสือุทธรณ์
1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้อุทธรณ์ ได้แก่
      - ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
      - วันที่ยื่นคำอุทธรณ์
2) รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงาน และการกระทำที่เป็นเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ ได้แก่
      - ชื่อหน่วยงาน
      - ข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์และการกระทำหรือคำสั่งที่เป็นมูลเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์โดยระบุให้ชัดเจนว่า เป็นกรณีไม่เปิดเผยข้อมูลที่ท่านขอ หรือ ไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือ ไม่ยอมแก้ไขหรือลบข้อมูลที่ท่านขอให้แก้ไข
      - รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเหตุให้ท่านอุทธรณ์ โดยควรระบุให้ละเอียดชัดเจน และ เข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ ท่านขอดู หรือ ข้อมูลที่ท่านคัดค้าน ในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย หรือ ข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไขหรือลบ เป็นข้อเรื่องอะไร โดย ควรระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรระบุชื่อแลและประเภทตลอดจนหมายเลขและวันที่ที่กำหนดในเอกสารไว้ด้วย (ถ้ามี)
3) เอกสารประกอบ (ถ้ามี)
        หากผู้อุทธรณ์มีเอกสารประกอบ เช่น สำเนาคำร้องขอข้อมูลข่าวสาร และ หรือหนังสือแจ้งคำสั่งของหน่วยงาน ที่สั่งไม่เปิดเผย หรือ สั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไข ตลอด จนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) หากจะแนบไปกับคำอุทธรณ์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการ และ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะได้นำไปใช้ประกอบการวินิจฉัยอุทธรณื ต่อไปได้

โดย http://hpc12.anamai.moph.go.th