ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พื้นฐานที่ควรรู้

สิทธิตามกฎหมายข้อมูลข่าวสาร

1. กฎหมายกำหนดให้สิทธิอะไรบ้างแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ ?
      พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดสิทธิสำคัญ ๆ แก่ประชาชนดังนี้
         1. สิทธิ "ได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ" พระราชบัญญัติได้รองรับสิทธิไว้ในมาตรา 7 มาตรา 9 มาตรา 11 และมาตรา 26
         2. สิทธิ "คัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารกรณีมีส่วนได้เสีย" ตามมาตรา 17
         3. สิทธิ "ร้องเรียนหน่วยงานของรัฐ" ตามมาตรา 13
         4. สิทธิ "อุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ" ตามมาตรา 18 และมาตรา 25
         5. สิทธิ "อุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ" ตามมาตรา 18 และมาตรา 25
2. หากประชาชนไม่รู้ว่าหน่วยงานของรัฐแห่งใด เป็นผู้จัดเก็บ หรือ ครอบครองข้อมูลข่าวสารที่ต้องการดู ประชาชนจะทำอย่างไร?
          ในกรณีที่ประชาชนต้องการทราบข้อมูลข่าวสารของราชการเรื่องหนึ่ง เรื่องใด ให้ศึกษา และ พิจารณาก่อนว่าข้อ มูลข่าวสารที่ต้องการทราบนั้น เกี่ยวข้อง และ อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งใด แต่ในกรณีที่ไม่ทราบจริงๆ ว่า หน่วยงานของรัฐแห่งใดเป็นผู้ครอบครองข้อมูลข่าวสารนั้น ให้ไปยื่นคำขอดูข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ ณ หน่วยงานของรัฐที่อยู่ ใกล้และสะดวกที่สุดโดยกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับคำขอจะต้องให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เพื่อไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมข้อมูลข่าวสารนั้นโดยไม่ชักช้า
3. หากหน่วยงานของรัฐไม่พิจารณาคำขอข้อมูลข่าวสาร ประชาชนจะทำอย่างไร ?
          ในกรณีที่ประชาชนได้ไปใช้สิทธิขอดูข้อมูลข่าวสารที่ต้องการจากหน่วยงานของรัฐแห่งใดแล้ว หน่วยงานของ รัฐแห่งนั้น ยังทำเพิกเฉยไม่พิจารณาคำขอในเวลาอันสมควร ประชาชนควรปฏิบัติดังนี้
          1. ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยทำหนังสือหรือโดยวาจา ขอทราบผลการพิจารณา โดยยกสิทธิรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ขึ้นอ้างและให้เวลาพอสมควรในการพิจารณาแก่เจ้าหน้า ที่ผู้รับผิดชอบ
          2. ติดตามทวงถามผลการพิจารณา เมื่อครบกำหนดเวลาอันสมควรตามข้อ 1 หากพบว่า เป็นปัญหาระดับเจ้า หน้าที่ ให้ขอพบผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น เพื่อเร่งรัดการพิจารณา และแก้ไขปัญหาในระดับ หน่วยงาน
          3. หากดำเนินกิจการตาม 1 และ 2 ยังไม่บังเกิดผล ให้ใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ ราชการ โดยทำเป็นหนังสือถึง
4. หากประชาชนทราบว่า ตนเองมีส่วนได้เสียในข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่มีผู้อื่นมาขอใช้สิทธิตรวจดูข้อมูลข่าวสารนั้น จะทำอย่างไรเพื่อมิให้การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ?
          ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากผู้ใดทราบว่า การที่หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดอันกระทบถึงประโยชน์ได้ เสียของตนเอง ก็อาจยื่นคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน ในการนี้ เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำขอของผู้ขอดูข้อมูล และ คำคัดค้านของผู้ที่มีส่วนได้เสียประกอบกัน ถ้าเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่รับฟัง คำคัดค้าน ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คำสั่ง (มาตรา 18) ในการนี้เจ้าหน้าที่จะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นยังมิได้ จนกว่าจะล่วงพ้นระยะเวลาให้อุทธรณ์ได้ ดังกล่าว เพื่อจะได้ทราบว่าผู้นั้นได้ยื่นอุทธรณ์หรือไม่ และ หากมีการยื่นอุทธรณ์ ก็จะยังเปิดเผยไม่ได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุท ธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (มาตรา 17 วรรคสาม)
5. สิทธิในการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ ประชาชนผู้ขอจำเป็นต้องมีส่วนได้เสียในข้อมูลข่าวสารนั้นด้วยหรือไม่? เพราะเหตุใด?
          บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของทางราชการนี้ อย่างไรก็ ตาม สิทธิได้รู้นี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของการจัดการปกครองในรัฐ สิทธินี้จึงเป็นของคนไทยโดยเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวหากจะมีก็จะอยู่ในเรื่องการปกป้องสิทธิของตนเท่านั้นมาตรา 9 วรรคสี่ ซึ่งวางหลักว่า คนต่างด้าวจะมีสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูล ข่าวสารตามมาตรา 9 ได้หรือไม่ เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่คนต่างด้าวนี้ไม่รวมถึงผู้ไม่มีสัญชาติ ไทย แต่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ (มาตรา 4 นิยามคำว่า "คนต่างด้าว") เพราะกรณีนั้น ผู้นั้นมีถิ่นที่อยู่ถาวรใน ประเทศไทยแล้ว สมควรมีสิทธิอย่างคนไทยในเรื่องข้อมูลข่าวสารของราชการได้
6. ประชาชนจะใช้สิทธิร้องเรียนหน่วยงานของรัฐได้ในกรณีใดบ้าง?
         ประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนได ้ต่อเมื่อเห็นว่า หน่วยงานของรัฐมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ใน กรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
          1. กรณีไม่นำข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
          2. กรณีไม่จัดข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ให้ประชาชนตรวจดูได้
          3. กรณีไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 ให้ประชาชนตรวจดูได้
          4. กรณีไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้องหรือไม่ส่งคำขอให้หน่วยงานผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารพิจารณาตาม มาตรา 12
          5. กรณีไม่แจ้งให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียเสนอคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 17
          6. กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา 23
          7. กรณีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยปราศจากความยินยอม เป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูล ตามมาตรา 24
          8. กรณีกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 25 (ยกเว้น เป็นกรณี ตามมาตรา 25 วรรคสี่)
          9. กรณีไม่ส่งมอบข้อมูลข่าวสารประวัติศาสตร์ให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้น คว้า ตามมาตรา 26
          10. กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือไม่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 13
          11. กรณีไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิรู้ข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามมาตรา 13
          12. กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่า ไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ร้องขอ และ ผู้ร้องขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง (ตามมาตรา 33)
7. ประชาชนจะร้องเรียนหน่วยงานของรัฐได้อย่างไร และร้องเรียนกับใคร?
                   ประชาชนมีสิทธิยื่นคำร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
         กฎหมายไม่ได้ระบุว่าให้ร้องเรียนด้วยวิธีใด ประชาชนอาจไปร้องเรียนด้วยตนเอง ณ สำนักงานคณะกรรมการ ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยให้เจ้าหน้าที่จดบันทึกไว้ให้หรือส่งทางไปรษณีย์ ถึงประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราช การ หรือร้องเรียนด้วยวิธีการอื่น
การเขียนคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการ
          ประชาชนจะใช้สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการได้ โดยต้องยื่นคำขอ แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าคำ ขอนั้น ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม การเขียนคำขอก็เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และทำให้มีหลักฐาน ชัดเจนทั้งผู้ขอและส่วนราชการ ในกรณีที่ต้องการเขียนคำขอควรเขียนให้ถูกต้องครบถ้วนในรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ขอข้อมูล และรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ขอให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การขอดูเอกสารสัญญาขององค์การบริหารส่วนตำบล ควรระบุว่าสัญญาเรื่องอะไร ทำสัญญาเมื่อวันที่เท่าใด หรือ การขอรายงานการประชุมของ อบต. ควรเขียนให้ชัดเจนว่า เป็น รายงานการประชุมเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือเป็นการประชุมของกรรมการชุดใด และเป็นการประชุมครั้งที่เท่าใด เป็นต้น
วิธีการเขียนคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการ
1. รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ขอข้อมูล มีดังนี้
      - ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ ได้สะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
      - วันที่ยื่นคำขอ    
2. รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ขอ มีดังนี้
      - ขอเอกสารหรือแฟ้ม หากไม่ทราบให้ระบุชื่อ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลพอเข้าใจได้
      - ระบุวิธีการที่ต้องการได้ข้อมูล เช่น ต้องการดู ต้องการสำเนา ต้องการสำเนาที่มีการรับรองความถูกต้อง
3. ระบุเหตุผลที่ขอข้อมูล (กฎหมายมิได้กำหนดว่า ผู้ขอข้อมูลต้องแสดงเหตุผลประกอบการขอข้อมูลข่าวสาร แต่หากผู้ขอระบุเหตุผลไว้ในคำขอก็จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะได้นำไปใช้ประกอบการใช้ดุลยพินิจในกรณีที่อาจ จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักเหตุผลระหว่างประโยชน์ของราชการกับประโยชนน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง หรือ ผู้ขอว่าสมควรจะให้ข้อ มูลแก่ผู้ขอหรือไม่
                     การร้องเรียน
          เมื่อหน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (มาตรา 13 และมาตรา 33) ประชาชนมีสิทธิยื่นคำร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมี ขั้นตอนและวิธีการร้องเรียน ดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการร้องเรียน
      1) พิจารณาว่าพฤติการณ์หรือการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐมีลักษณะดังกล่าวไว้ในหัวข้อที่ 6
      2) ยื่นหนังสือร้องเรียนด้วยตนเอง หรือ มอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นแทนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ ราชการได้ทันที โดยยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ จะส่ง หนังสือร้องเรียนทางไปรษณีย์ก็ได้
      3) รอฝังผลการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
2. ข้อความที่ควรระบุในหนังสือร้องเรียน
      1) รายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ร้องเรียนประกอบด้วย
           - ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
           - วันที่ยื่นคำร้องเรียน
      2) รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
           - ชื่อหน่วยงาน
           - ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
      3) เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
       หากมีเอกสารประกอบ เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือ หนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่ง หากผู้ร้องจะแนบไปด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการ ฯ ซึ่งจะได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียน นั้น ๆ ต่อไป
3. ข้อแนะนำในการเขียนหนังสือร้องเรียน
       1) ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ
       2) ระบุข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยว ข้องให้ชัดเจน
       3) พยายามหลีกเลี่ยงการร้องเรียนที่ใช้ถ้อยคำเสียดสี ดูหมิ่น หรือพาดพิงไปถึงบุคคลอื่น
       4) ถ้ามีข้อขัดข้องในการเขียนหนังสือร้องเรียน สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานคณะ กรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 4 ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ 10300
8. ประชาชนจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการในกรณีใดได้บ้าง?
การอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ประชาชนจะสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้ 3 กรณีคือ
      1) กรณีหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ได้มีคำขอ
      2) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งบุคคลผู้คัดค้านทราบว่า ตนมี ประโยชน์ได้เสีย และ ผู้มีประโยชน์ได้เสียนั้น ได้เสนอคำคัดค้านพร้อมเหตุผลประกอบเพื่อให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูล ดังกล่าวแล้ว
      3) กรณีหน่วยงานของรัฐไม่ยินยอมแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามคำขอ เมื่อบุคคลใดเห็นว่า ข้อมูลข่าว สารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดเก็บไว้ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง และ ได้ยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงาน ของรัฐเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้อง
       ทั้ง 3 กรณีดังกล่าว ประชาชนมีสิทธิยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อพิจาร
ณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
9. ประชาชนจะอุทธรณ์ได้อย่างไร และอุทธรณ์ต่อใคร?
           ประชาชนมีสิทธิยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อพิจารณาส่งเรื่องให้คณะกรรม การวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้น ดำเนินการพิจารณา วินิจฉัย โดยมีขั้นตอนและวิธีการอุทธรณ์ดังนี้
           1) พิจารณาว่าหน่วยงานของรัฐได้กระทำหรือปฏิบัติตาม คำถามข้อ 8 แล้วหรือไม่
           2) ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยผ่านคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ของราชการ โดยยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรืออาจส่งหนัง สืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ก็ได้
           3) รอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน เวลา 60 วัน
        ข้อความที่ควรระบุในหนังสือุทธรณ์
1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้อุทธรณ์ ได้แก่
      - ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
      - วันที่ยื่นคำอุทธรณ์
2) รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงาน และการกระทำที่เป็นเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ ได้แก่
      - ชื่อหน่วยงาน
      - ข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์และการกระทำหรือคำสั่งที่เป็นมูลเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์โดยระบุให้ชัดเจนว่า เป็นกรณีไม่เปิดเผยข้อมูลที่ท่านขอ หรือ ไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือ ไม่ยอมแก้ไขหรือลบข้อมูลที่ท่านขอให้แก้ไข
      - รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเหตุให้ท่านอุทธรณ์ โดยควรระบุให้ละเอียดชัดเจน และ เข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ ท่านขอดู หรือ ข้อมูลที่ท่านคัดค้าน ในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย หรือ ข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไขหรือลบ เป็นข้อเรื่องอะไร โดย ควรระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรระบุชื่อแลและประเภทตลอดจนหมายเลขและวันที่ที่กำหนดในเอกสารไว้ด้วย (ถ้ามี)
3) เอกสารประกอบ (ถ้ามี)
        หากผู้อุทธรณ์มีเอกสารประกอบ เช่น สำเนาคำร้องขอข้อมูลข่าวสาร และ หรือหนังสือแจ้งคำสั่งของหน่วยงาน ที่สั่งไม่เปิดเผย หรือ สั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไข ตลอด จนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) หากจะแนบไปกับคำอุทธรณ์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการ และ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะได้นำไปใช้ประกอบการวินิจฉัยอุทธรณื ต่อไปได้

โดย http://hpc12.anamai.moph.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น