ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

มัดจำ กับเบี้ยปรับ


มัดจำ
            มัดจำ คือ สิ่งที่คู่สัญญาได้ส่งมอบให้ไว้แก่กัน ซึ่งอาจเป็นเงิน หรือของมีค่าในตัว เพื่อเป็นพยาน หรือเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา เช่น สร้อยคอทองคำ แหวนเพชร (โฉนดที่ดิน หนังสือค้ำประกันธนาคาร สัญญากู้เงิน ไม่มีค่าในตัวเอง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร โดยสภาพส่งมอบไม่ได้ ดังนั้น ให้ไว้จึงไม่ใช่มัดจำ)
            มัดจำมิใช่การชำระหนี้ล่วงหน้า เมื่อชำระหนี้เสร็จต้องคืนมัดจำ
            มัดจำเป็นสัญญาอุปกรณ์ ดังนั้นจะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับสัญญาประธาน
            การริบมัดจำเป็นกฎหมายพิเศษ ลูกหนี้ไม่มีสิทธิขอหักมัดจำเพื่อชำระหนี้ และถ้ายังชำระหนี้ไม่ครบถ้วนสิ้นเชิง มัดจำต้องถูกยึดไว้เป็นประกันต่อไป ถ้ามิได้ตกลงเรื่องการริบมัดจำ ต้องปฏิบัติดังนี้
                        ให้จัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วน
ให้คืน เมื่อชำระหนี้สิ้นเชิง
                ให้คืน เมื่อฝ่ายที่รับมัดจำไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันต้องรับผิดชอบ                
                        ให้ริบ เมื่อฝ่ายวางมัดจำ ไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันต้องรับผิดชอบ จะริบมัดได้จำต้องเลิกสัญญาก่อน
หากเจ้าหนี้บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้หมดสิทธิริบมัดจำ แต่ไม่ตัดสิทธิเรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๒๒๒,๒๒๓  เว้นแต่กำหนดในสัญญาห้ามเรียกได้ไม่ขัดมาตรา ๓๗๓


เบี้ยปรับ
            เบี้ยปรับ คือ การกำหนดจำนวนเงิน หรือการกำหนดการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอันหนึ่งอันใด เพื่อเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน ซึ่งคู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร การกำหนดเบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์ หากการชำระหนี้ตามสัญญาประธานไม่สมบูรณ์ ข้อตกลงเรื่องเบี้ยปรับย่อมไม่สมบูรณ์ด้วย แม้คู่สัญญาจะรู้ว่าข้อสัญญานั้นไม่สมบูรณ์ก็ตาม เช่น สัญญาเช่าซื้อกฎหมายกำหนดต้องทำเป็นหนังสือ ข้อสัญญาเรื่องเบี้ยปรับก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ประโยชน์ของเบี้ยปรับ
๑.    เป็นประกันความรับผิดตามสัญญา โดยริบได้โดยไม่ต้องนำสืบพิสูจน์ถึงความเสียหาย
๒.   เป็นการชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ทุกอย่างไม่เฉพาะแต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน แม้เจ้าหนี้ไม่เสียหายก็มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้อันเป็นการลงโทษฐานผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ เช่น ผิดสัญญาไม่ซื้อที่ดิน แม้ที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นเจ้าหนี้ไม่ได้รับความเสียหาย ก็มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตามสัญญา
๓.   เป็นการจำกัดความรับผิดของลูกหนี้ สามารถกำหนดไว้ในสัญญาได้ว่าไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายอื่นอีกได้


การกำหนดเบี้ยปรับเป็นเงิน
เจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับ สิทธิที่จะเรียกให้ชำระหนี้เป็นอันระงับ แต่การเรียกเอาเบี้ยปรับไม่ตัดสิทธิเรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๒๒๒ (ค่าเสียหายเฉพาะกรณีการเลิกสัญญา เท่านั้น ได้แก่ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ จากพฤติการณ์ที่คู่กรณีคาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ต้องรู้หรือควรรู้ล่วงหน้าก่อนผิดสัญญาจนถึงขณะที่ผิดสัญญา เช่น กำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการนำสินค้าไปขายต่อ เป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ ผู้สั่งซื้อจึงต้องพิสูจน์ว่าผู้ขายได้รู้หรือควรจะรู้ถึงการที่จะนำทรัพย์นั้นไปขายต่อเอากำไร , ฏ ๑๓๔๖/๒๕๑๗ป. ค่าใช้จ่ายในการไปมาเพื่อฟ้องคดี ค่าใช้จ่ายของทนายความ ไม่ใช่ค่าเสียหาย ตาม ๒๒๒)
            เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับย่อมหมดไป แต่เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในฐานจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายได้ โดยต้องพิสูจน์ค่าเสียหายตาม ๓๘๐ วรรค ๒
            เบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์ สัญญาประธานต้องสมบูรณ์ถึงจะบังคับได้
เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลปรับลดลงพอสมควรได้ แต่เมื่อได้ใช้เงินค่าปรับแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีในสัญญามีการกำหนดค่าปรับ
        กรณี ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เลย  (การไม่ชำระหนี้ หมายถึงอาจเป็นการไม่ชำระหนี้สิ้นเชิงหรือบางส่วน หรือไม่ชำระหนี้ประธานหรือหนี้อุปกรณ์ เช่น ดอกเบี้ย ก็ได้ ปพพ. ๓๘๗,๓๘๘)
                        หากเจ้าหนี้เลือกเอาเบี้ยปรับ สิทธิเลือกให้ชำระหนี้เป็นอันระงับ โดยเจ้าหนี้ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน แต่ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายตามมาตรา ๒๒๒
และหากสัญญากำหนดห้ามเรียกค่าเสียหาย ก็เรียกค่าเสียหายอีกไม่ได้ ถือว่าเบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายแล้ว เขียนสัญญายกเว้นมาตรา ๒๒๒ ได้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
                        หากเจ้าหนี้เลือกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับย่อมหมดไปตามมาตรา ๒๑๓ แต่เรียกค่าเสียหายตามความเป็นจริงได้ตามมาตรา ๓๘๐ วรรค ๒

 
กรณีชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร เช่น ไม่ตรงตามกำหนดเวลา
            หากเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับได้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายมากกว่าเบี้ยปรับ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนโดยพิสูจน์ค่าเสียหาย ตามมาตรา ๓๘๐ วรรค ๒ แต่ถ้าเจ้าหนี้ไม่เสียหายหรือเสียหายน้อยกว่าเบี้ยปรับ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายมากกว่าเบี้ยปรับ (ฏ ๒๒๑๖/๒๕๑๕ ป.)
            หากเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้ โดยยังไม่ได้รับเบี้ยปรับ ต้องสงวนสิทธิไว้ ( การสงวนสิทธิไม่มีการกำหนดรูปแบบไว้ ดังนั้น จึงจำต้องแสดงเจตนาให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้เข้าใจการแสดงเจตนาดังกล่าว แต่การที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบ จะถือว่าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้วไม่ได้ จึงไม่ต้องสงวนสิทธิ ฏ ๑๐๗๘/๒๔๙๖)
            หากเจ้าหนี้ยอมรับเบี้ยปรับโดยยังไม่ได้รับชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ ไม่ต้องสงวนสิทธิ
            หากเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้
ให้ใช้สิทธิตามสัญญาเรียกเบี้ยปรับ แต่สิทธิเรียกให้ชำระหนี้ย่อมขาดไป และมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามความเป็นจริงตาม ๒๒๒ โดยต้องพิสูจน์ หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้ หรือเสียหายน้อยกว่าเบี้ยปรับ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม เพราะไม่มีความเสียหายที่จะพิสูจน์เอาได้
ให้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา เพื่อคู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา ๓๘๑ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ได้ตามมาตรา ๒๑๖
(ฏ ๖๖๔/๒๕๓๐ เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับและจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหาย โจทก์จึงเรียกเอาค่าเสียหายอีกไม่ได้เพราะเป็นการเรียกเอาค่าเสียหายที่เกินกว่าความเสียหายที่ได้รับ ขัดต่อ ปพพ.มาตรา ๓๘๐ วรรค ๒)
อย่างไรก็ตามหากเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา ๓๘๓ โดยพิจารณาจากทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย
            อนึ่ง หากมีการกำหนดเบี้ยปรับเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน เจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับแล้วไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน (ปพพ. มาตรา ๓๘๒)
ความแตกต่างระหว่างมัดจำกับเบี้ยปรับ

มัดจำ
เบี้ยปรับ
๑. เป็นสิ่งที่คู่สัญญาให้ไว้แก่กันเพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา
๑. เป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน ซึ่งคู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร

๒. เป็นเงินหรือสิ่งของมีค่าในตัวเอง
๒. เป็นเงิน หรือการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน ได้แก่ การกระทำ งดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สิน
๓. คู่สัญญาต้องส่งมอบให้ไว้แก่กับ
๓. คู่สัญญาอาจส่งมอบแก่กัน หรือเพียงกำหนดเบี้ยปรับโดยไม่ส่งมอบก็ได้
๔. ต้องส่งมอบไว้แก่กันขณะทำสัญญาๆ
๔. อาจส่งมอบหรือตกลงกำหนดไว้มนสัฯฯอันก่อหนี้หรือสัญญาเพิ่มเติมในภายหลังก็ได้


ข้อขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.ocpb.go.th/board_post.asp?id=1965&idsub=5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น