ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

การฟ้องศาลในคดีอาญา

    คดีอาญาจะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ คดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้ และคดี
อาญาที่ยอมความได้ การฟ้องร้องต่อศาลในคดีอาญาทั้งสองมีลักษณะในการดำเนินการ แตกต่างกัน
ในบางขั้นตอน ซึ่งจะแยกการฟ้องศาลของคดีอาญาทั้งสองลักษณะดังนี้
คดีอาญาแผ่นดิน
เมื่อเกิดอาญาแผ่นดินขึ้น เช่น มีการฆ่ากันตาย มีการปล้นทรัยพ์เกิดขึ้นในท้องที่ใด หากมีผู้
ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ทางผู้ใหญ่บ้าน กำนันก็จะรีบไปแจ้งความกับ
เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกทีหนึ่ง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาตาม
กฎหมาย
ถ้าไม่สะดวกในการไปแจ้งความต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรืออาจจะทำให้การดำเนินการจับกุม
คนร้ายไม่ทันเหตุการณ์ จะต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรงเป็นดีที่สุด การแจ้งความในคดี
อาญาแผ่นดินกระทำไดหลายทาง คือ
1. โทรศัพท์แจ้งความจะเป็นการสะดวกรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ได้ดีที่สุด ซึ่งการแจ้งความ
ทางโทรศัพท์ต้องแจ้งรายละเอียดในลักษณะของคดีอาญาที่เกิดขึ้น และบอกถึงสถานที่เกิดเหตุให้
ชัดเจน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้มาตรวจสถานที่เกิดเหตุได้ทันท่วงทีในสถานที่เกิดเหตุ สิ่งที่กระทำได้
ทันทีของผู้แจ้ง หรือผู้เห็นเหตุการณ์ ได้แก่ การนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ช่วยกันทำการดับไฟ
ส่วนเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกิดจากคดีอาญาไม่ควรเข้าไปจับต้อง เช่น อาวุธปืนในที่เกิดเหตุ ข้าวของที่ล้ม
กระจัดกระจายอยู่ การเคลื่อนย้ายศพ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจสอบสถาน
ที่เกิดเหตุก่อนจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเป็นอย่างยิ่ง และการแจ้งความคดีอาญาจะต้องแจ้งความต่อ
สถานีตำรวจในเขตท้องที่ที่เกิดเหตุ เราอยู่ท้องที่ใดควรจะได้ทราบเบอร์โทรศัพท์ของสถานีตำรวจใน
ท้องที่เอาไว้ เพื่อความสะดวกต่อการแจ้งเหตุ
2. แจ้งความด้วยตนเอง คือ ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากคดีอาญาอาจจะเป็นผู้ประสบเหตุการณ์เอง
หรือญาติไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรง ซึ่งการไปแจ้งความด้วยตนเองควรจะไปแจ้งความ
ต่อหน่วยบริการตำรวจ ซึ่งอาจจะเป็นป้อมยาม สายตรวจก็ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นการสะดวกกว่าที่จะไปแจ้ง
ความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุโดยตรง
3. ข่าวจากสื่อสารมวลชน ในคดีอาญาแผ่นดินถือได้ว่าเป็นการแจ้งความ อย่างหนึ่ง เพราะคดีอาญา
บางอย่างทางผู้เสียหายต้องการจะปิดไว้เพื่อการต่อรองกับคนร้าย เช่น การจับตัวไปเรียกค่าไถ่ ความผิด
อาญาในลักษณะเช่นนี้ แม้จะไม่มีผู้ใดแจ้งความทั้งทางโทรศัพท์และแจ้งความด้วยตนเอง แต่เมื่อข่าว
เกิดแพร่ไปสู่สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุก็จะต้องดำเนินการสืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง
คดีอาญาแผ่นดิน เมื่อมีผู้แจ้งความไม่ว่าจะทางใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหน้าที่ดำเนินการ
สืบสวนสอบสวน เพื่อหาพยานหลักฐานในการจับกุมคนร้าย และเมื่อทำการจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุได้
แล้ว จะทำการสอบสวนและหาพยานหลักฐาน เพื่อส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ถูก กล่าวหาไป
ยังอัยการ เพื่อพิจารณาสั่งฟ้องศาลหรือสั่งไม่ฟ้องศาลอาญาต่อไป แม้เพียงแต่ทราบข่าวโดยไม่มีผู้แจ้ง
ในความผิดอาญาแผ่นดินทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินการสืบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการ ต่อไป

คดีอาญาที่ยอมความได้ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นคดีความผิดส่วนตัว คดีเหล่านี้คงจะทราบกัน
มาแล้ว เช่น ยักยอกทรัพย์ ข่มขืนหญิงอายุเกิน 15 ปี คดีเหล่านี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวกัน อย่าง
คดียักยอกทรัพย์ เจ้าของทรัพย์และผู้ยักยอกอาจจะตกลงกันได้ ให้ผู้ยักยอกนำเอาทรัพย์ที่ยักยอก
มาคืนและอาจจะเรียกค่าเสียหายจากการกระทำนั้น เมื่อตกลงกันได้ก็ไม่ต้องเกิดคดี
คดีอาญาที่ยอมความได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินคดีได้ เจ้าทุกข์หรือผู้เสียหายจะต้องแจ้งความ
ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแจ้งเรื่องต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยดำเนินการแจ้งความต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ตัวอย่าง ถ้าเกิดคดีเช่นนี้ ตำรวจจะมีสิทธิจับกุมผู้กระทำผิดหรือไม่ เมื่อเจ้าทุกข์ไม่ดำเนินการแจ้ง
ความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นายหล่อ อายุ 18 ปี ได้หลอกพานางสาวสวย อายุ 16 ปี ไปดูหนังที่งานวัดแห่งหนึ่ง หลังจากหนังเลิก
ได้พานางสาวสวยไปบ้านตนเองและใช้กำลังปลุกปล้ำข่มขืนนางสาวสวยหลายครั้ง รุ่งเช้าจึงพานางสาว
สวยไปส่งบ้าน พ่อแม่นางสาวสวยสอบถามถึงเหตุการณ์ นายหล่อได้สารภาพความผิดที่ตนเองได้ก่อขึ้นต่อ
นางสาวสวย แต่พ่อแม่ของนางสาวสวยมิได้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข่าวที่นายหล่อข่มขืนนางสาวสวย
ได้ล่วงรู้ไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการอย่างไร
เรื่องนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจคงดำเนินการใด ๆ ไม่ได้ เนื่องจากนายหล่อข่มขืนนางสาวสวยซึ่งมีอายุเกิน 15 ปี
แล้ว ไม่ได้ทำการข่มขืนต่อหน้าคนอื่น เป็นความผิดทางอาญาที่ยอมความกันได้ กฎหมายกำหนดไว้ความผิด
ทางอาญาที่ยอมความได้ เมื่อเจ้าทุกข์ไม่แจ้งความเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการคดีไม่ได้
ความผิดทางอาญาที่ยอมความกันได้ ผู้เสียหายจะต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้จับกุมผู้กระทำ
ผิด การที่เจ้าหน้าที่ทราบเรื่องการกระทำความผิดเองยังไม่สามารถดำเนินการ จับกุมได้ เช่น ทราบว่านาย ก.
บุกรุกที่ของนาย ข. หรือนายไก่ ขอยืมสร้อยคอทองคำของนายนกไปใส่แล้วนำไปขาย ซึ่งเป็นการยักยอก
ทรัพย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมได้ต่อเมื่อนาย ข. ต้องไปแจ้งความก่อนว่านาย ก. บุกรุกที่ของตน
หรือนายนกต้องไปแจ้งความก่อนว่านายไก่ยักยอกสร้อยคอของตนไปขาย การดำเนินคดีอาญาที่ยอมความได้
สามารถดำเนินคดีได้ดังนี้
1. ผู้เสียหายแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งความผิดคดีอาญาที่ยอมความได้ หรือความผิดส่วนตัว
ผู้เสียหายมักจะทราบผู้กระทำความผิด การไปแจ้งความซึ่งสามารถบอกตัวผู้กระทำความผิดได้ เพื่อให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวมาดำเนินคดีได้
2. ในระหว่างการดำเนินคดีได้ ไม่ว่าจะเป็นขั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือชั้นส่งฟ้องศาล
ถ้าผู้เสียหายและผู้กระทำผิดสามารถตกลงยอมความกันได้ การดำเนินคดีเป็นอันสิ้นสุดในชั้นสอบสวน
เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ต้องดำเนินการสอบสวน ปิดสำนวนการสอบสวนได้เลย ในชั้นส่งฟ้องศาลก็ปิดคดีได้
3. แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ตกลงยอมความกับผู้กระทำผิด ยืนยันที่จะดำเนินคดีจนถึงที่สุด การดำเนินคดี
ก็คงดำเนินไปเช่นเดียวกับความผิดในคดีอาญาแผ่นดิน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42020/Cepter4-1.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2556 เวลา 14:47

    ใครทราบช่วยตอบทีค่ะดิฉันถูกดำเนินคดีในฐานยักยอกทรัพ์ทางบริษัทตั้งเงินตัวเลขขึ้นมาเองแล้วให้ดิฉันนำเงินไปคืนรวมแล้ว60000 บาทจนกระทั่งดิฉันบอกเขาว่าไม่มีเงินแล้วจะขอผ่อนผันในชั้นศาลทางบริษัทก้อเงียบไปจนผ่านมาปีกว่ามีหมายเรียกตัวมาจากตำรวจว่าให้เอาเงินไปคืนบริษัทกับเพื่อนรวมสองคนรวมแล้วหลักล้านดิฉันกับเพื่อนงงเลยว่าคดีไม่จบแต่ตัวเลขกับเยอะซึ่งมันผ่านมานานมากแล้วทำไมเขาไม่ดำเนินคดีตั้งแต่แลกแล้วมาเรียกตัวอีกทีผ่านมาปีกว่าดิฉันกับเพื่อนต้องทำยังไงช่วยตอบทีค่ะ

    ตอบลบ