ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ย่อตัวบท ข้อ ๘. ครอบครัว - มรดก

    ครอบครัว ( ม.1435 -1598/41 )
ม. 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์ เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้น ให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสด้วย
ม. 1452 ชาย / หญิง จะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสไม่ได้
ม. 1466 สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้น ไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส / มิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรส + พยานอย่างน้อย 2 คน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้
ม. 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส
ม. 1471 สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินที่ (1) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอยู่ก่อนสมรส (2) เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว / เครื่องแต่งกาย / เครื่องประดับ / เครื่องมือเครื่องใช้จำเป็นในการประกอบอาชีพ (3) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดก / การให้โดยเสน่หา (4) เป็นของหมั้น
ม. 1474 สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่ (1) คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส (2) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม / โดยการให้เป็นหนังสือ ระบุว่า เป็นสินสมรส (3) เป็นดอกผลของสินส่วนตัว หากกรณีสงสัยให้ถือว่าเป็นสินสมรส
ม. 1476 สามีและภริยา ต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน / ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย กรณี (1) ขาย จำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (2) ก่อตั้ง / กระทำให้สิ้นสุด ซึ่งทรัพยสิทธิ (3) ให้เช่าอสังหา ฯ เกิน 3 ปี (4) ให้กู้ยืมเงิน (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่ เพื่อการกุศล , การสังคม , ตามหน้าที่ธรรมจรรยา (6) ยอมความ (7) อนุญาโตตุลาการ (8) นำทรัพย์สินไปประกัน
ม. 1498 การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ว. 2 กรณีสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมี / ได้มา ไม่ว่าก่อน / หลังการสมรส รวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นประการอื่น
ม. 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะเป็นคนไร้ความสามารถ / สืบสายโลหิต / ไม่ยินยอม ไม่ทำให้ชาย / หญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิท่ได้มา เพราะการสมรสก่อนมี คำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ
ม. 1501 การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย / การหย่า / ศาลพิพากษาให้ถอน
ม. 1504 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะอายุไม่ถึง 17 ปี ผู้มีส่วนได้เสียขอเพิกถอนได้เว้นแต่บิดามารดาที่ให้ความยินยอม
ว. 2 ถ้าศาลยังมิได้สั่งให้เพิกถอน จนชายหญิงมีอายุครบ / หญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ ให้ถือว่าสมบูรณ์ตั้งแต่สมรส
ม. 1516 เหตุฟ้องหย่า (1) - (10)
ม. 1531 การสมรสที่จดทะเบียน การหย่าโดยความยินยอมมีผลนับแต่จดทะเบียนหย่า , การหย่าโดยคำพิพากษามีผลเมื่อพิพากษา
ม. 1546 เด็กที่เกิดจากหญิง ที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
ม. 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันภายหลัง / บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร / ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ม. 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1547 มีผลนับแต่ (1) วันสมรส กรณีบิดามารดาสมรสกันภายหลัง (2) วันจดทะเบียน กรณีบิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร (3) วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ม. 1558 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตาย ที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก ถ้าศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ในฐานะทายาทโดยธรรม
มรดก ( ม. 1599 - 1755 )
ม. 1599 บุคคลใดตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท
ม. 1600 กองมรดก ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่เป็นการเฉพาะตัว
ม. 1605 ทายาทคนใดยักย้าย / ปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้ / มากกว่า โดยฉ้อฉล ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลย แต่ถ้าน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ต้องถูกกำจัดเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้าย / ปิดบัง
ว. 2 มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม
ม. 1606 บุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
(1) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเจตนา / พยายามกระทำให้เจ้ามรดก / ผู้มีสิทธิได้มรดกก่อนตน ตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ฟ้องเจ้ามรดกหาว่ากระทำความผิดโทษประหารชีวิต และตนกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าฟ้องเท็จ / ทำพยายานเท็จ
(3) รู้ว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้ร้องเรียนเพื่อเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ เว้นแต่อายุยังไม่ครบ 16 ปี , เป็นญาติ
(5) ปลอม / ทำลาย / ปิดบังพินัยกรรม
ว. 2 เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรก็ได้ โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ม. 1607 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัด สืบมรดกต่อได้
ม. 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนมิให้ได้รับมรดกก็ได้ ด้วยการแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้ง
(1) โดยพนัยกรรม
(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ม. 1612 การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ / ทำเป็นสัญญาประนีประนอม
ม. 1615 การที่ทายาทสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
ว. 2 ทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน
ม. 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้ว การคิดส่วนแบ่งและการปันทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นดังนี้
(1) ส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องการหย่าโดยความยินยอม
(2) ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกให้เป็นไปตาม ม. 1637 , 1638
ม. 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว / บุตรบุญธรรม ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ม. 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ เท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดา (4) พี่น้องร่วมบิดา / มารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา
ว. 2 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้ ม. 1635
ม. 1630 ตราบใดทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ / มีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายในลำดับหนึ่ง ๆ ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิ
ว. 2 มิให้ใช้บังคับ กรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิต / มีผู้รับมรดกแทนที่กัน + บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
ม. 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ในการรับมรดกให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม ม. 1629 (1) - ผู้สืบสันดาน คู่สมรสได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน / มีผู้รับมรดกแทนที่ ถ้าไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา คู่สมรสได้กึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดา / ร่วมมารดาเดียวกัน , ลุง ป้า น้า อา / มีผู้รับมรดกแทนที่ , มีปู่ ย่า ตา ยาย คู่สมรสได้ 2/3 ส่วน
(4) ถ้าไม่มีทายาทตาม ม. 1629 เลย คู่สมรสมีสิทธิได้รับทั้งหมด
ม. 1636 ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนใช้ บรรพ 5 หลายคน ทุกคนรวมกันมีสิทธิได้รับตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งตาม ม.1635 แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อยได้กึ่งส่วนที่ภริยาหลวงได้รับ
ม.1639 ถ้าบุคคลซึ่งจะเป็นทายาทตาม ม.1629 (1) , (3) , (4) , (6) ถึงแก่ความตาย / ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นรับมรดกแทนที่ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นตาย / ถูกกำจัด เช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้รับแทนที่เฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลนั้นเป็นรายๆไป
ม. 1696 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันถูกเพิกถอนไป รวมถึงผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สินนั้นด้วยความตั้งใจ
ม. 1697 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น และปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับพินัยกรรมฉบับหลังขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันถูกเพิกถอนโดยฉบับหลัง เฉพาะส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้น
ม. 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นย่อมตกไปเมื่อ (1) ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม (2) ข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ และผู้รับพินัยกรรมตายก่อนเงื่อนไขสำเร็จ / เป็นที่แน่นอนว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ (3) ผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม (4) ทรัพย์สินที่ยกให้สูญหาย / ถูกทำลาย โดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิวตอยู่ และมิได้ของกลับมาแทน / สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทน

*** มาตราไหน แก้ไข ปรับปรุงต่อด้วยนะ ***

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.lawsiam.com/?name=webboard&file=read&id=1141

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น