ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ และ ซีวิล ลอว์


1. ที่มาของกฎหมาย
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ มีที่มาจากจารีตประเพณี คำพิพากษาของศาลก็ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะคำพิพากษาของศาลที่ตัดสินคดีต่าง ๆ ถือเป็นบรรทัดฐาน ที่ศาลต้องยึดถือเมื่อมีกรณีอย่างเดียวกันเกิดขึ้น นอกจากนี้ หลักความยุติธรรมก็ถือได้ว่าเป็นที่มาของกฎหมายที่ศาลนำมาใช้ให้เกิดความเสมอภาค และกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติโดยรัฐสภาอังกฤษ
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ ส่วนมากเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ในบางกรณีก็มีที่มาจากจารีตประเพณี
2. วิธีพิจารณาคดี
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ มีลูกขุนทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนผู้พิพากษาจะทำหน้าที่วางหลักกฎหมายและชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย เป็นการพิจารณาคดีระบบปรปักษ์
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ ไม่มีลูกขุน ผู้พิพากษาทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดปัญญาข้อเท็จจริงและปัญหากฎหมายใช้ระบบเสาะหาข้อเท็จจริง หรือระบบไต่สวน และระบบกล่าวหาที่คล้ายครึงกับระบบปรปักษ์
3. การจำแนกประเภทกฎหมาย
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ ไม่นิยมแบ่งแยกประเภทกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ แต่มีการแบ่งเป็นกฎหมาย คอมมอน ลอว์ และหลักความยุติธรรม ศาลเป็นระบบศาลเดี่ยวคือมีศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียว
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ แยกประเภทกฎหมายออกเป็น กฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน ดังนั้นข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจะขึ้นศาลปกครอง คดีทั่วไปขึ้นศาลยุติธรรม เป็นระบบศาลคู่
4. ผลของคำพิพากษา
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ เมื่อศาลได้พิพากษาและกำหนดแบบอย่างอันเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายแล้วศาลต่อ ๆ มาต้องผูกพันที่จะพิพากษาไปในแนวทางเดียวกัน
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ คำนึงถึงตัวบทเป็นสำคัญ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาไปแล้วคำพิพากษาของศาลไม่ถือเป็นบรรทัดฐาน ศาลต่อมาไม่จำเป็นต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน
5. การศึกษากฎหมาย
          ระบบกฎหมาย คอมมอน ลอว์ ศึกษาจากคำพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐาน
          ระบบกฎหมาย ซีวิล ลอว์ ศึกษาจากตัวบทกฎหมาย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://alismagi.wordpress.com/2011/05/30/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2-lw103-commoncivil/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น