ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคช่วยในการจดจำในการอ่านหนังสือ

   อย่างที่ผมเคยโพสไปหลายครั้งแล้วว่าคนเราเมื่ออะไรประมาณสี่ครั้ง จะจำได้เองโดยอัตโนมัติ แต่ที่เพื่อนหลายคนมีปัญหาคือเมื่ออ่านหนังสือไปแล้ว รู้สึกว่าตัวเองไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ กังวลว่ามีหนังสือหลายเล่มที่ต้องอ่าน ผมจึงอยากแนะนำคือว่าเราอ่านหนังสือรอบแรกก็เหมือนเราเพิ่งรู้จักเพื่อนคนใหม่ เรายังไม่สามารถรู้จักนิสัยเขาได้ดีพอในครั้งเดียว จำต้องใช้เวลาสักระยะ ดังนั้นการอ่านหนังงสืออย่าได้มัวที่จะกังวลว่าจำได้หรือไม่ได้ ให้พยายามอ่านให้ได้เยอะที่สุด มากที่สุด ให้เห็นในภาพรวมเพื่อความสบายใจว่าได้อ่านหนังสือเล่มนั้นๆ เรื่องนั้นจบแล้ว และคิดว่าเดี๋ยวคงได้กลับมาอ่านอีก
การอ่านหนังสือควรวางสายตาให้อยู่ตรงกลางของบรรทัดโดยพยายามถ่างสายตาเหมือนดูภาพรวมๆ ให้เร็วที่สุด แต่ตรงไหนที่อ่านเร็วๆแล้วรู้สึกว่าติดขัดจึงค่อยอ่านช้าลงในช่วงนั้น แต่ส่วนใหญ่ให้พยายามถ่างสายตา
โดยประมาณถ้าเป็นคำบรรยายทั่วไปชั่วโมงหนึ่งควรอ่านได้ประมาณ สิบห้า ถึง ยี่สิบหน้า
แต่ถ้าเป็นจูริสที่เป็นฎีกาจะได้ประมาณสิบถึงสิบห้าหน้า
(แรกๆจะช้าแต่ถ้าฝึกเรื่อยๆจะพัฒนาไปเอง และควรกำหนดว่าแต่ละวันจะอ่านกี่หน้า) หลายคนจะแย้งว่าอ่านมากหรือน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่เข้าใจหรือไม่ แต่ที่ผมบอกคือว่าเรานักกฎหมายต้องอ่านหนังสือเยอะมาก และรอบแรกอ่านก็ไม่เข้าใจ ถ้ามั่วอ่านช้าๆและกว่าจะทำความเข้าใจทีละเรื่อง ก็อ่านไม่ทัน แถมเรื่องที่เข้าใจก็ไม่ออกข้อสอบ ดังนั้นรอบแรกควรพยายามอ่านให้จบตามเป้าหมาย
รอบสองตรงนี้คือสมองมนุษย์เราจะมีทั้งที่ใช้ในความจดจำทางสายตา ซึ่งทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูป ก็คือเวลาเราอ่านก็จะจำและถ่ายทอดไปสู่สมอง(สังเกตุคนที่ท่องตัวบท จะไม่ค่อยเปลี่ยนเล่มเพราะรูปบรรทัดและย่อหน้าตัวบทที่เคยใช้แล้วจะคุ้นเคยกว่า) และสมองอีกส่วนหนึ่งคือส่วนนึกคิด ซึ่งตรงนี้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ คือจะอ่านๆและก็อ่านซ้ำๆจนกว่าจะจำได้ ผมจึงอยากบอกว่าเราอาจใช้สมองทั้งสองส่วนในการช่วยจดจำกับการอ่านหนังสือครั้งหนึ่งๆได้คือ อย่างที่บอกว่าเราอ่านหนังสือครั้งหนึ่งสมาธิอยู่ได้ ๕๐ นาที ใช้เวลาจากเริ่มนั่งจนมีสมาธิ ๑๐ นาที รวมตั้งแต่เริ่มนั่งจนถึงลุกขึ้นเดิน ๑ ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้เมื่อนั่งอ่านหนังสือจบเรื่อง ใน ๑ ชั่วโมงแล้วให้รุกเดินให้สมองผ่อนคลายและนึกเรื่องที่ได้อ่านมาเมื่อชั่วโมงที่แล้ว เล่าให้เพื่อนหรือตนเองฟัง ถ้าเล่าได้แสดงว่าเข้าใจ ถ้าเล่าไม่ได้ก็แสดงว่าเข้าใจไม่จริง เล่าได้ถึงตรงไหน ติดขัดก็ไปเปิดตรงนั้นและพยายามเล่าต่อให้จบที่ผ่าน ก็จะทำให้เราสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านมาได้หมด

เพิ่มเติมในตอนต้นนิดนึง เพื่อนๆหลายคนที่มีปัญหาว่าอ่านแล้วก็ลืม เรื่องที่เคยเข้าใจแล้ว พอมาอ่านอีกวิชาหนึ่งก็ลืม ทำให้เครียดว่าจำอะไรไม่ได้เลย ตรงนี้อย่ากังวลนะครับ การที่เราอ่านอะไรแล้วลืมเป็นเรื่องธรรมดา เพียงแต่ถ้าเรามีทบทวนอีกรอบมันจะเร็วขึ้น การเลือนหายไปของความจำเป็นเรื่องธรรมดาแต่ถ้าเรานึกถึงบ่อยๆ ก็จะทำให้การเลื่อนหายน้อยลงไป

สรุปดังนี้นะครับ คือให้เราใช้สมองของเราทั้งสองส่วน ส่วนที่เป็นเหมือนกล้องถ่ายภาพคือการอ่านด้วยสายตา กับอีกส่วนคือส่วนนึกคิด ทั้งสองอย่างในการอ่านหนึ่งครั้ง จะทำให้จดจำดีขึ้น
มีเป้าหมายในการอ่านในแต่ละเดือน สัปดาห์ วัน หรือแบ่งเป็นช่วงเช้าบ่าย หรือแต่ละชั่วโมง อาจกำหนดเป็นหน้า หรือเป็นวิชา หรือเป็นบทๆ ไปก็ได้ และพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนการทำโน้ทย่อก็ดีนะครับ ก็คือการสรุปอย่างที่ผมบอกข้างตนคือการเล่าให้ตัวเองฟังเป็นตัวหนังสือ(แต่บางทีเราไม่เข้าใจเพราะเพียงแต่จดหัวข้อลงไปในโน้ทเท่านั้น) แต่ถ้าเข้าใจด้วย โน้ทย่อด้วยยิ่งดีใหญ่
เรื่องการถ่างสายตาในการหนังสือก็ลองฝึกดูนะครับเป็นประโยชน์มากๆ เพราะเราต้องอ่านหนังสือเยอะ การอ่านเร็วๆทำให้เห็นภาพรวมได้ทั่วของแต่ละวิชาและสามารถเห็นได้ว่าตรงไหนสำคัญ ตรงไม่สำคัญ เมื่อมาอ่านรอบสองที่ต้องจำแล้วจะทำให้จัดลำดับความสำคัญได้ถูกต้อง

การอ่านหนังสือผมอยากให้เพื่อนๆจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่อ่านนะครับ คือว่า ในการสอบของแต่ละสนามเราจะสอบทั้งหมดแต่ละวันประมาณ ๑๐ วิชา ต้องเอาคะแนะมาเฉลี่ยกัน เกิน ๕๐ เปอร์เซ็น จึงจะผ่าน และคะแนน ที่ ๑-๕ ของแต่ละข้อได้ง่าย แต่คะแนนที่ ๗-๑๐ ได้ยาก ดังนั้นเราจึงควรทำให้ได้ทุกข้อ ดีกว่าเต็มขอหนึ่ง ศูนย์ข้อหนึ่ง

ด้วยเหตุผลข้างต้น ผมจึงอยากแนะนำให้เพื่อนๆ จัดเนื้อหาของแต่ละข้อออกเป็น สามส่วน
ส่วนแรก คือชั้นที่หนึ่ง ที่เป็นเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบบ่อยๆ มีฎีกาข้อกฎหมายเยอะๆ ดูได้จากข้อสอบเก่าๆ ที่แต่งโจทก์แล้วเป็นประเด็นน่าสนใจ
ส่วนสอง คือชั้นที่สอง ที่เป็นเนื้อหาที่ออกข้อสอบบ้างบางครั้ง มีเอามีแต่งบ้าง แต่ก็ไม่บ่อย
ส่วนสาม คือส่วนที่เป็นทฤษฎี ที่แบบว่าถ้าเราอ่านมาไปเล่าให้คนอื่นฟังไม่มีคนรู้เรื่อง แม้แต่อาจารย์ที่สอนเองยังเห็นไม่ตรงกัน

เมื่อเห็นเนื้อหาสามส่วนข้างต้นแล้ว เพื่อนๆหลายคนที่อ่านหนังสือวันละหลายชั่วโมง แต่ไปอ่านส่วนที่สาม ก็จะทำให้สอบไม่ผ่าน เพราะส่วนดังกล่าวไม่ออกข้อสอบ (แม้เวลาคุยกับเพื่อนจะดูเท่ เพราะคนอื่นไม่รู้ เพราะไม่เคยอ่าน) หรือหลายคนที่อ่านทั้งสามส่วนของแต่ละข้อแล้วสอบตก เพราะทำได้แค่บ้างข้อ เนื่องจากอ่านข้ออื่นไม่ทัน
คำแนะนำของผมก็คือ เวลาที่เพื่อนๆอ่านหนังสือให้อ่านส่วนที่หนึ่ง ของแต่ละวิชาให้ครบ สิบข้อก่อน จะทำเราได้ ๑-๔ คะแนนของแต่ละข้อแล้ว(พอมั่วได้แล้ว) และต่อมาให้อ่านส่วนที่สองของแต่ละข้อ จะทำให้ข้อไหนทำได้ก็ ๖-๘ คะแนะ ทำไม่ได้ ก็ ๒-๕ คะแนน แต่เมื่อรวมแล้วก็เกิน ๕๐ คะแนน และเมือเวลาเหลือจริงๆ จึงอ่านส่วนที่สาม เพื่อให้ได้คะแนะเต็มเพื่อบางปีที่ออกข้อสอบบางข้อแหวกแนว
สรุปนะครับทุกสนามต้องการคนที่มีความรู้ผ่านมาตราฐานไม่ได้ต้องคนที่เก่งข้อใดข้อหนึ่ง แม้ได้สิบเต็มแต่รวมข้ออื่นแล้วไม่เกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ผ่านนะครับ 
จึงเห็นควรให้จัดเนื้อหาก่อนแล้วจึงเริ่มอ่านนะครับโดยพยายามอ่านส่วนที่หนึ่ง ครบทุกข้อ แล้วจึงอ่านส่วนที่สองให้ครบ แล้วเวลาเหลือจึงอ่านส่วนที่สาม ต้องพยายามเตือนตัวเองเวลาที่อ่านรอบแรกด้วยนะครับว่าเรากำลังเข้าไปอ่านในส่วนที่สามแล้วหรือไม่
(เพื่อนอย่ากังวลกับข้อสอบเก่าบางปีที่ออกมาตราแปลกๆมา เพราะข้อสอบเหล่านั้นคือฎีกาดังในช่วงนั้นๆและไม่ออกซ้ำในการอ่านหนังสือเอาที่สำคัญๆก่อน ส่วนที่แปลกให้ดูฎีกาหใหม่) หลายคนพยายามอ่านให้หมดทุกเรื่องแล้วทำให้อ่านไม่ทัน 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.netithai.com/index.php?topic=420.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น