ยินดีต้อนรับ บล็อกนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายครอบครัว(มรดก)

     ถ้าพูดถึงเรื่องกฎหมายครอบครัวมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะคนเราเกิดมาก็ต้องมีครอบครัวหรือมีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวกันหมดทุกคน เช่น คนเราเกิดมาก็ต้องมีพ่อแม่ , มีการสมรส , มีการหมั้น , มีการรับรองบุตร , มีการทำพินัยกรรม ,มีการจัดการมรดก , การปกครองบุตร , ทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยา ฯลฯ
                ดังนั้นเราจึงควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวไว้บ้าง ถ้าเกิดมีปัญหาจะได้แก้ไขได้ถูก ยกตัวอย่างเรื่องของ มรดก  มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ (มาตรา 1599* เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น  และมาตรา 1600* ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ) 
มีคนถามว่า มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด                  มรดกจะตกถึงทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  กองมรดกของเจ้าของมรดกจะตกทอดกับทายาทโดย สิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม 
            กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย
        บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งสภาพบุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่ 
1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมจะต้องมีการลำดับและชั้นต่าง ๆ  
        ส่วนประเภทที่ 2 ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะพินัยกรรมกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือบุคคลภายนอกก็ได้        
(ตาม มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตาม กฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม")
เมื่อเจ้ามรดกตายลงไป บรรดาลูกๆ สามีหรือภริยาของเจ้ามรดก และอาจรวมถึงเครือญาติของเจ้ามรดกต่างคาดคิดว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกกันดี  แต่ควรที่จะประชุมทายาทโดยธรรมกันก่อน ว่าจะให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก และคนที่มีสติหรือมีจิตฟั่นเฟือน วิกลจริต ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทั้งนี้ผู้จัดการมรดกจะทำอะไรโดยพลการไม่ได้ และจะเอาแต่ใจตนเองก็ไม่ได้ และการร้องขอต่อศาลเพื่อจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดก จะไม่ต้องถูกคัดค้านจากบรรดาทายาท
อีกทั้งหน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีหน้าที่อย่างไรบ้างตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยบัญญัติไว้มีดังนี้
1.การจัดทำบัญชีทรัพย์ ตาม มาตรา 1714
2.การจัดการงานศพของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1649
3.การสืบหาตัวผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ตาม มาตรา 1725
4.การเรียกเก็บหนี้สินของกองมรดก ตาม มาตรา 1736 วรรคท้าย
5.การส่งเงินและทรัพย์สินเข้ากองมรดก ตาม มาตรา 1720
6.การแถลงความเป็นไปในการจัดการมรดกแก่ทายาท ตาม มาตรา 1720 + 809 + 1732
7.ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ทายาทสั่งหรือศาลสั่ง ตาม มาตรา 1730 + 1597
8.การแจ้งหนี้สินระหว่างผู้จัดการมรดกกับกองมรดก ตาม มาตรา 1730 + 1596
9.ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดก ตาม มาตรา 1732
                ดังนั้นการรู้กฎหมายหรือศึกษากฎหมายจะทำให้เราไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ อีกทั้งสามารถจัดการทรัพย์สินต่างๆ ของเจ้ามรดกได้ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/markandtony/2010/09/24/entry-2
ภาพจาก  http://fannyzaza.blogspot.com/p/2-3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น